Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12850
Title: | ผลของการพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน จังหวัดมหาสารคาม |
Other Titles: | Results of participatory service quality development by using the quality criteria of the Primary Care Award in Nongno Subdistrict Health Promoting Hospital, Maha Sarakham Province |
Authors: | อารยา ประเสริฐชัย ปราณี ถีอาสนา, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--มหาสารคาม |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 33 คน คัดเลือกแบบเจาะจง จากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน ทั้งหมด 45 คน ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการวิจัย ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลของกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ 1) มีกิจกรรม 12 ขั้นตอน 2) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน มีการเปลี่ยนแปลงด้านความพึงพอใจ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) หน่วยบริการผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐาน และ 4) มีรูปแบบการพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน คือ การประสานงานภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม (N) กำหนดวันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (N) การคิดเชิงบวก (P ) เสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน (C) และการรู้คุณค่าการชมเชย (A) หรือที่เรียกว่า รูปแบบ NN-PCA โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาครั้งนี้คือ การมีผู้นำและผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญในการพัฒนา การรวบรวมข้อมูล และการมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12850 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148503.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License