Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12852
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Factors related to hypoglycemic medication behaviors of diabetic patients at Nongphai Hospital, Phetchabun Province
Authors: วรางคณา จันทร์คง
ปิติ พิทยานุกิจ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เบาหวาน--การรักษา
น้ำตาลในเลือด
การใช้ยา
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ของโรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนแผนกผู้ป่วยนอกและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 693 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 111 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์ เอ๊กแซก และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 61 - 70 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรรมมีพฤติกรรมการใช้ยาลด ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับดี และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลและทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนความรู้ในการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์เชิงบวกปานกลางกับพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12852
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_163267.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons