Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12859
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ เต็งโรจน์นภาพรth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T08:38:02Z-
dc.date.available2024-09-30T08:38:02Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12859en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศของนักเรียน ระดับชั้นที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่ อายุของนักเรียน อาชีพของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง และรายได้ของผู้ปกครองของนักเรียน (2) สภาวะทันตสุขภาพของนักเรียน (3) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับทันตสุขภาพ (4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และทัศนคติ กับพฤติกรรมทันตสุขภาพ และ (5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมทันตสุขภาพกับโรคฟันผุประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนวัดตำหนักใต้ ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ที่ได้รับรางวัลส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่น ระดับจังหวัดนนทบุรี ภายใต้โครงการเรียนรู้คู่วิจัย จำนวน 150 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ด้านความรู้ใช้ข้อคำถามที่มีค่าความยากง่ายที่ยอมรับอยู่ในช่วงระหว่าง 0.2-0.8 และค่าอำนาจจำแนกมีค่า ระหว่าง 0.2 ถึง 1.0 ด้านทัศนคติและพฤติกรรมทันตสุขภาพใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ที่มีความเชื่อมั่น 0.70 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับชั้นที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่มากที่สุดคือ ชั้น ป.6 อายุนักเรียนมากที่สุด มีอายุ 12 ปี อาชีพหลักของผู้ปกครองมากสุด มีอาชีพรับจ้างทั่วไป สำหรับการศึกษาของผู้ปกครองมากที่สุดจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ส่วนรายได้เฉลี่ยของครอบครัว มากที่สุดมีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน (2) จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน พบว่า มีนักเรียน ที่ปราศจากฟันผุร้อยละ 38.7 มีฟันแท้ผุและยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 10 เคยถูกถอนฟันแท้ ร้อยละ 1.3 เคยได้รับการรักษาโดยการอุดฟันแท้ ร้อยละ 26 และมีประสบการณ์โรคฟันผุ 0.85 ซี่/คน (3) นักเรียนมีระดับความรู้มากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติมากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมเกี่ยวกับเกี่ยวกับทันตสุขภาพมากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง (4) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียน และ (5) และวิเคราะห์ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุ พบว่า อายุของนักเรียน และ ทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectทันตสุขศึกษา--การศึกษาและการสอนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่นภายใต้โครงการเรียนรู้คู่วิจัยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeDental behaviors of students in an excellent Dental Health award school under "Learning and Research" Project of Pranangklao Hospital, Nonthaburi Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were to study: (1) personal factors of students including gender, class level, age, and parents' occupations, education and income; (2) dental health status of students; (3) knowledge, attitudes and behaviors relating to dental health; and (4) relations between personal factors, knowledge and attitudes and dental behaviors; and (5) relations between personal factors, knowledge, attitudes and dental behaviors and dental caries, all of primary school students. The study was conducted among all 150 4"-6" grade students at Wat Tamnak Tai School, which was in the designated area of Pranangklao Hospital and had received an Excellent Dental Health School Award of Nonthaburi province, under the "Learning and Research" Project. Data were collected using a questionnaire, whose knowledge difficulty and discrimination values were 0.2-0.8 and 0.2-1.0, respectively, and its Cronbach's reliability coefficients for oral health attitudes and behaviors were 0.70 and 0.77, respectively. Data analyses involved the determination of frequencies, percentages, means, standard deviation, Chi-square test values and Pearson's product moment correlation coefficient. Results were as follows: (1) among the students, most of them were female, studying in grade 6; the oldest ones were 12 years old. Most of their parents were general wage-workers, had completed upper secondary or vocational school, and had the highest family income of less than 15,000 baht per month, on average; (2) concerning dental health conditions, of all students, 38.7% had no dental caries, 10% had dental caries in permanent teeth without any treatment, 1.3% used to have permanent teeth extraction, and 26% used to have filling; and all had a decayed, missing, and filled teeth index of 0.85; (3) the students had maximum knowledge, attitudes and dental practices at a moderate level; (4) the families' average monthly income was associated with students' dental behaviors; and (5) the students' age and dental health attitudes were associated with their dental cariesen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_151786.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons