กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12861
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับสมรรถนะทางการบริหารของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to administrative competencies of sub-district health promoting hospital directors in Buri Ram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
รัศมี ชุดพิมาย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาล--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินการโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ฝึกหัด โรงพยาบาลตำรวจ (2) ประเมินกระบวนการในการดำเนินการโครงการ และ (3) ประเมินผลการดำเนินการของโครงการการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินโดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประธานอนุกรรมการแพทยศาสตรศึกษาอนุกรรมการแพทยศาสตรศึกษาจำนวน 5 คน และแพทย์ฝึกหัดจำนวน 65 คนในปีการศึกษา 2599 นอกจากนี้ยังได้ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ได้แก่ บันทึกการประชุม เอกสารแผนการดำเนินงาน ข้อมูลพื้นฐานของแพทย์ฝึกหัด ข้อมูล อาจารย์แพทย์และเจ้าหน้าที่ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูลเอกสาร และแบบประเมินความพึงพอใจของแพทย์ฝึกหัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินการโครงการพบว่า อาจารย์แพทย์มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่จำนวนอาจารย์แพทย์และเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอและขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในโครงการ เทคโนโลยีที่ใช้มีความเหมาะสม แต่สื่อวัสดุอุปกรณ์ด้านการสอนยังมีไม่เพียงพอ งบประมาณมีการวางแผนการใช้อย่างเป็นระบบ ห้องเรียนและหอพักนักศึกษามีไม่เพียงพอและระบบการดูแลรักษาอาคารสถานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ (2) ผลการประเมินกระบวนการดำเนินการโครงการมีความเหมาะสมทุกด้าน ได้แก่ (2.1) ด้านการเตรียมการ โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก การกำหนดระบบการคัดเลือกและการเตรียมกิจกรรม (2.2) ด้านการดำเนินการ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติ และการจัดซ้อมสอบ และ (2.3) ด้านการนิเทศและติดตาม และ (3) การประเมินผลการดำเนินการโครงการพบว่า (3.1) แพทย์ฝึกหัดเข้าฟังบรรยาย ร้อยละ 72.3 และเข้ารับการฝึกปฏิบัติร้อยละ 95.38 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน (3.2) การซ้อมสอบขั้นตอนที่ 2 ในรูปแบบของข้อสอบแบบเลือกตอบ แพทย์ฝึกหัดสอบผ่านร้อยละ 48 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (3.3) อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพขั้นตอนที่ 2 ของแพทย์ฝึกหัด ปรากฏว่าร้อยละ 8.33 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (3.4) แพทย์ฝึกหัดมีความพึงพอใจในโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12861
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_155673.pdfเอกสารฉบับเต็ม771.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons