Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12867
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Factors associating with the consumer protection implementation of Village Health Volunteers in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ วรสา บัวคง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี การคุ้มครองผู้บริโภค--ไทย--นครศรีธรรมราช |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (2) ระดับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของอสม.ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของ อสม. ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 28,499 คน คำนวณตัวอย่างได้จำนวนตัวอย่าง 553 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงของแบบวัดความรู้ ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ระหว่าง0.87-0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 47.4 ปี อาชีพเกษตรกรรมมีรายได้เฉลี่ย 8,598.19 บาท จบการศึกษาระดับประถมศึกษาสถานภาพสมรสคู่นับถือศาสนาพุทธและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง อสม. เฉลี่ย 11.4 ปี ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำปัจจัยสนับสนุนด้านการปฏิบัติงานของ อสม. อยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับศาสนาปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องสำอาง วัตถุมีพิษอันตราย รวมทั้งเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นำของ อสม. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มในชุมชน เกิดการพึ้งพาตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดอาชีพและรายได้ในชุมชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12867 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_147257.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License