กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12872
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to dental health operations of village health volunteers in Damnoen Saduak district, Ratchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง วิไลวรรณ กอธงทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทันตสาธารณสุข--ไทย--ราชบุรี การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลการสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม กับการมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานกับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 1,283 คน เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ผา (1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีอายุเฉลี่ย 50.37 ปี ร้อยละ 59.2 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ย 14,978.05 บาทต่อเดือน ประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเฉลี่ย 10.54 ปี และส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทั้งนี้ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง ส่วนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) การอบรมพัฒนาในด้านทันตสุขภาพ มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ความสัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ และปัจจัยการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12872 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_155666.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License