กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12879
ชื่อเรื่อง: | สถานการณ์และกระบวนการจัดการกลุ่มออกกำลังกาย : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองบ้านฉาง จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Situation and management process of an exercise group. a case study of Banchang Municipality, Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อังศุมาลิน มั่งคั่ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี การออกกำลังกาย--ไทย--ระยอง การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงคุณภาพ นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์และกระบวนการจัดการของกลุ่ม ออกกำลังกาย (2)ปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค ในมุมมองของกลุ่มออกกำลังกาย ที่ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองบ้านฉาง จังหวัดระยอง กลุ่มออกกำลังกายที่เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ ชมรมแอโรบิค 2 กลุ่ม และชมรมกีฬาบ้านฉาง 1 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองบ้านฉาง จังหวัดระยอง และมีการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารของเทศบาลเมืองบ้านฉาง ประธานคณะกรรมการ ตัวแทนสมาชิก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกลุ่มออกกำลังกาย โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 23 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม ตามแนวทางการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน 2552 ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มออกกำลังกายทั้ง 3 กลุ่มเริ่มก่อตั้งจากการรวมตัวกันด้วยความสมัครใจของสมาชิกที่ต้องการออกกำลังกาย จุดประสงค์ของกลุ่ม คือ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สมาชิกมีทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ และผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดี โดยแต่ละกลุ่มมีการกำหนดรูปแบบในการออกกำลังกายที่เหมาะสม กับสมาชิกของกลุ่ม แตกต่างกันออกไป สำหรับกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มที่ก่อตั้งจากความต้องการของสมาชิก มีผลการดำเนินการที่ต่อเนื่อง เข้มแข็ง ในขณะที่กลุ่มที่ระบบราชการส่งเสริมให้เกิดโดยการรวมตัวกันของกลุ่มกีฬาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในลักษณะของชมรมกีฬาบ้านฉาง มีผลการดำเนินงานไม่ชัดเจน ผลที่เกิดขึ้นกับสมาชิกกลุ่มออกกำลังกายทุกกลุ่มคือมีร่างกายที่แข็งแรง หายจากการเจ็บป่วย และมีความสุขจากการได้ออกกำลังกาย (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือการมีผู้นำกลุ่มที่มีความสามารถ สมาชิกมีความตั้งใจ ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการที่ไม่เป็นทางการ ในรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ตรงความต้องการของสมาชิก ภายใต้ค่านิยม วัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดมายาวนาน พบปัญหาอุปสรรคในด้านการสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์กรหน่วยงานอื่นๆ ด้านอาคารสถานที่ และด้านบุคลากร บทเรียนสำคัญพบว่า แนวคิดในการดูแลสุขภาพตนเอง รักสุขภาพ ทำด้วยศรัทธาจึงเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง รวมถึงสมาชิกมี จุดมุ่งหมายที่ตรงกัน จะส่งผลให้การดำเนินการของกลุ่มประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12879 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_129419.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License