Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12888
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร |
Other Titles: | Factors affecting the effectiveness of the implementation of the annual government action plan of the Kamphaeng Phet Rajabhat University |
Authors: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา กิตติยา ลาเต๊ะ, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร--รายงานประจำปี ประสิทธิผลองค์การ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิผลของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (3) เสนอแนะกลยุทธ์ของการบริหารแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร คือ (1) บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 615 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 242 คน ใช้สูตรทาโรยามาเน่ และ (2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปีโดยตรง จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่าง 5 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้กับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และแบบสัมภาษณ์ใช้กับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทีเทส เอฟเทส และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยกระบวนการบริหารแผนส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีความสามารถในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 52.2 (3) กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ การขยายเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมให้จัดกระบวนการบริหารแผนในรูปแบบออนไลน์ ทบทวนปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิด และส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพมากยิ่งขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12888 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License