Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12890
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | ภาคภูมิ สายหยุด, 2522- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-10-07T02:32:59Z | - |
dc.date.available | 2024-10-07T02:32:59Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12890 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับต่อการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนของแกนนำสุขภาพ และต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และสัดส่วนของการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับของผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ในตับในจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) แกนนำสุขภาพ ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน 2) ผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นประชาชนอายุ 15-60 ปีที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจาระ จำนวน 32 คน ในอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยผู้วิจัยประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดการขับเคลื่อนพลังสังคมของแบรนช์ ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับของชุมชน (2) การออกแบบและการริเริ่มดำเนินการ (3) การดำเนินการ (4) การดำรงการเชื่อมประสานกัน ประชุมกลุ่มระดมสมอง และสำรวจสิ่งแวดล้อม (5) การแพร่กระจายและการสร้างความคงทน 2) แบบสอบถามการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนของแกนนำสุขภาพ 3) แบบสอบถามความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ แบบสอบถามชุดที่ 2 และชุดที่ 3 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .99 และ .99-1.00 ตามลำดับ แบบสอบถามส่วนความรู้มีค่าความเที่ยงของคูเดอร์-ริชาดสัน เท่ากับ .84 ส่วนการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชน เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บราค เท่ากับ .82 .83 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบ แกนนำสุขภาพมีการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนในการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับดีกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ติดเชื้อมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับดีกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่สัดส่วนของการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในตับของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | โรคพยาธิใบไม้ในตับ--การป้องกัน | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดศรีสะเกษ | th_TH |
dc.title.alternative | The effectiveness of the community-driven model for liver fluke control in Si sa ket Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the effects of the community-driven model for liver fluke control on the community-driven perception of health leaders, as well as knowledge, attitude, and behavior toward liver fluke control, and the proportion of the positive finding of Opisthorchis viverrini (OV) eggs of infected people in Sisaket Province.This quasi-experimental research was a two-group pretest-posttest design There were 2 groups of samples: 1) 28 health leaders, composed of the president of the subdistrict administrative organization, the permanent secretary of the subdistrict administrative organization, members of the village committee, members of the subdistrict administrative organization, and village health volunteers (VHVs). They were selected by purposive sampling. 2) 32 OV-infected people aged 15–60 years old who had a positive finding of OV eggs in feces, living in Mueang Sisaket District, Sisaket Province. Research instruments were 1) the community-driven model for liver fluke control based on Brach’s social empowerment concept. The 8-week activities consisted of (1) liver fluke situation analysis, (2) design and implementation initiation, (3) implementation, (4) coordination, brainstorming group meeting, and environmental survey, and (5) diffusion and persistence; 2) a questionnaire on the community-driven perception of health leaders; and 3) questionnaires on knowledge, attitude, and behavior of liver fluke control. The content validity indexes of the questionnaires were .99 and .99–1.00, respectively. Kuder-Richardson-20 of the knowledge questionnaire was .84. Cronbach's alpha coefficient of the questionnaires on community-driven perception, attitude, and behavior were .82, .83, and .83, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, a t-test, and a Z-test. The results showed that after model implementation, health leaders had a perception of community-driven liver fluke control that was significantly better than before model implementation, and better than the comparison group, at p-value<.01. The knowledge, attitudes, and behavior toward liver fluke control of infected people were better than before model implementation and better than the comparison group at p-value<.01. However, the proportion of the positive finding of Opisthorchis viverrini (OV) eggs of infected people in the experimental and comparison groups was not significantly different at a p-value<.01 | en_US |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License