กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12890
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of the community-driven model for liver fluke control in Si sa ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาคภูมิ สายหยุด, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
โรคพยาธิใบไม้ในตับ--การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับต่อการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนของแกนนำสุขภาพ และต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และสัดส่วนของการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับของผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ในตับในจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) แกนนำสุขภาพ ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน 2) ผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นประชาชนอายุ 15-60 ปีที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจาระ จำนวน 32 คน ในอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยผู้วิจัยประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดการขับเคลื่อนพลังสังคมของแบรนช์ ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับของชุมชน (2) การออกแบบและการริเริ่มดำเนินการ (3) การดำเนินการ (4) การดำรงการเชื่อมประสานกัน ประชุมกลุ่มระดมสมอง และสำรวจสิ่งแวดล้อม (5) การแพร่กระจายและการสร้างความคงทน 2) แบบสอบถามการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนของแกนนำสุขภาพ 3) แบบสอบถามความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ แบบสอบถามชุดที่ 2 และชุดที่ 3 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .99 และ .99-1.00 ตามลำดับ แบบสอบถามส่วนความรู้มีค่าความเที่ยงของคูเดอร์-ริชาดสัน เท่ากับ .84 ส่วนการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชน เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บราค เท่ากับ .82 .83 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบ แกนนำสุขภาพมีการรับรู้การขับเคลื่อนชุมชนในการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับดีกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ติดเชื้อมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับดีกว่าก่อนดำเนินการตามรูปแบบและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่สัดส่วนของการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในตับของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12890
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons