กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12893
ชื่อเรื่อง: แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยไทยมุสลิมระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของแพทย์และพยาบาล จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Palliative care guidelines for Thai Muslim clients at Songkhla Province as perceived by nurses and doctors
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัทยา แก้วสาร
ฮาบีด๊ะ เด็นหมัด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ป่วยหนัก--การดูแล
การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อประเมินแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยไทยมุสลิมระยะสุดท้ายให้สอดคล้องกับวิถีความเชื่อในประเพณีและวัฒนธรรมของผู้ป่วยประชากรและผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยแพทย์ 12 คน และพยาบาลวิชาชีพ 28 คน เครื่องมือศึกษาพัฒนามาจากกรอบการประเมินการดูแลผู้ป่วยของสำนักงานหลักประสุขภาพแห่งชาติ 2553 เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน 1) ข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยไทยมุสลิมระยะสุดท้าย 6 ด้าน รวม 49 ข้อ ได้แก่ (1) ด้านการแสดงเจตนาเกี่ยวกับเป้าหมายการดูแลรักษา 6 ข้อ (2) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วย 17 ข้อ (3) ด้านความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน 3 ข้อ(4) ด้านความรู้สึกและการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัว 10 ข้อ (5) ด้านความไม่สุขสบายทางกายและอาการต่างๆ 9 ข้อ และ (6) ด้านผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจ 4 ข้อ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.94 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12893
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_151520.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons