Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12894
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | มัสลินภร จู่มา, 2518- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-10-07T03:06:04Z | - |
dc.date.available | 2024-10-07T03:06:04Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12894 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นต่อทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิก ความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิกต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิก สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิก การวิจัยและพัฒนานี้แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น และระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 14 คนและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองคายที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 10 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 11 คนและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองคายที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและการระดมสมอง 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ 3) แบบสอบถามสำหรับผู้นิเทศทางคลินิก มี 3 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิกและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิก และ 4) แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ มี 3 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ แบบสอบถามสำหรับผู้นิเทศทางคลินิก มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และ 0.97 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.89 และ 0.85 ตามลำดับ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.88 และ0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติวิลคอลซอนไซน์แรงค์ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่โรงพยาบาลหนองคาย ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดของพรอคเตอร์ ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และคลิปวิดิโอ 2) ทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิกและความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิกต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิกหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิกหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การนิเทศพยาบาล--ไทย--หนองคาย | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย | th_TH |
dc.title.alternative | The development of a clinical supervision model in newly graduated professional nurses, Nong Khai Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to 1) develop a model of clinical supervision for newly graduated professional nurses, Nong Khai Hospital, 2) evaluate the developed clinical supervision model on clinical supervision skills of nursing supervisors and nursing supervisor satisfaction with the developed clinical supervision model, competency of newly graduated professional nurses and newly graduated professional nurse satisfaction with the developed clinical supervision model. The research and development method was applied. The purposive sample was divided into 3 phases. Phase 1 (Needs Assessment) and phase 2 (Design and development), key informants included 14 head nurses and sub-head nurses and 10 newly graduated professional nurses at Nong Khai Hospital. Phase 3 (Tryout and implementation) samples included 11 head nurses and sub-head nurses and 12 newly graduated professional nurses at Nong Khai Hospital. The research tools were composed of 1) focus group and brainstorming question guideline, 2) a clinical supervision model for newly graduated professional nurses 3) a questionnaire for nursing supervisors which was composed of 3 parts: personal data, the clinical supervisory skills assessment and satisfaction with the developed supervision model, and 4) a questionnaire for newly graduated professional nurses which was composed of 3 parts: personal data, competency assessment, and satisfaction with the developed supervision model. The content validity indexes of the questionnaire for nursing supervisors were 0.90 and 0.97 respectively, and the Cronbach's alpha coefficients were 0.89 and 0.85 respectively. The content validity indexes of the questionnaire for newly graduated professional nurses were 0.90 and 0.96 respectively, and the Cronbach's alpha coefficients were 0.88 and 0.85 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, content analysis, and the Wilcoxon Signed Rank test. The findings were as follows: 1) the clinical supervision model for newly graduated professional nurses at Nong Khai Hospital was developed, based on Proctor's model, which was composed of a manual and video clips of clinical supervision for newly graduated professional nurses; 2) The clinical supervisory skills of nursing supervisors as well as satisfaction with the developed supervision model of nursing supervisors after using the developed clinical supervision model was significantly higher than before using the developed model at the .05 level. Finally, competency of newly graduated professional nurses as well as satisfaction with the developed supervision model of newly graduated professional nurses was significantly higher than before using the developed model at the .05 level | en_US |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License