กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12894
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a clinical supervision model in newly graduated professional nurses, Nong Khai Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา มัสลินภร จู่มา, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ การนิเทศพยาบาล--ไทย--หนองคาย |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นต่อทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิก ความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิกต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิก สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิก การวิจัยและพัฒนานี้แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น และระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 14 คนและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองคายที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 10 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 11 คนและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองคายที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและการระดมสมอง 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ 3) แบบสอบถามสำหรับผู้นิเทศทางคลินิก มี 3 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิกและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิก และ 4) แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ มี 3 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ แบบสอบถามสำหรับผู้นิเทศทางคลินิก มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และ 0.97 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.89 และ 0.85 ตามลำดับ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ เท่ากับ 0.88 และ0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติวิลคอลซอนไซน์แรงค์ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่โรงพยาบาลหนองคาย ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดของพรอคเตอร์ ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และคลิปวิดิโอ 2) ทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิกและความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิกต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิกหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิกหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12894 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License