กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12908
ชื่อเรื่อง: | เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Employment or working conditions and the elderly workers protection |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ มาโนช ชวลิต, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้สูงอายุ--การจ้างงาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายแรงงาน การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุของกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและวิเคราะห์ในกรณีเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุและ (4) ศึกษาการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากสื่อเล็กทรอนิกส์อินเทอร์เน็ต ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานผู้สูงอายุ สถานการณ์และปัญหาการจ้างงาน แนวคิดในการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในที่ทำงานของกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศมีความแตกต่าง (2) กฎหมายของสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น แม้จะไม่มีกฎหมายเฉพาะ แต่ประเทศดังกล่าวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ (3) จากการวิเคราะห์กฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 , มาตรา 11 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 และมาตรา 90 ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ เมื่อเทียบกับกฎหมายขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นที่มีการกล่าวถึงช่วงอายุ ประเภทงานที่จ้าง อัตราค่าจ้างและระยะเวลาทำงาน (4) ให้มีแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 , มาตรา 11 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 และมาตรา 90 เพื่อให้ครอบคลุมถึงเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานและการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ ให้สอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กฎหมายสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นที่ลูกจ้างผู้สูงอายุมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครอง โดยกำหนดช่วงอายุ ประเภทงานที่จ้าง อัตราค่าจ้างและระยะเวลาทำงานให้ชัดเจนและครอบคลุม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12908 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License