Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12953
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ | th_TH |
dc.contributor.author | โชคชัย แซ่มี, 2535- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-11-19T01:49:44Z | - |
dc.date.available | 2024-11-19T01:49:44Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12953 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้า 3) พฤติกรรมการรับสื่อของเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า 4) สิ่งจูงใจและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ประจำปีการผลิต 2564/65 จำนวน 719 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 159 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 35.93 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 4.55 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 29.43 ไร่ มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 75,345.91 บาทต่อปี และมีรายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,094.34 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีความรู้มากในประเด็น กาแฟโรบัสต้าเหมาะสำหรับปลูกที่ความสูง 0 - 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล 3) เกษตรกรมีความต้องการรับสื่อประเภทสื่อบุคคลมากที่สุด ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและนักส่งเสริมการเกษตร โดยส่วนใหญ่มีการรับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น.ได้รับข้อมูลข่าวสารจากนักส่งเสริมการเกษตร 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 06.01-12.00 น. และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ 4) เกษตรกรมีสิ่งจูงใจในผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับมาก ในประเด็น การมีการประกันราคาผลผลิตกาแฟโรบัสต้ามากที่สุด มีความต้องการในการส่งเสริมด้านเนื้อหาในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการมากที่สุดในประเด็นองค์ความรู้การป้องกันกำจัดศัตรูกาแฟโรบัสต้า และมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มมากที่สุด 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับน้อย และเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมการรวมเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้าและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรเยี่ยมและติดตามแปลงเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | กาแฟโรบัสต้า | th_TH |
dc.subject | กาแฟ--ไทย--การผลิต | th_TH |
dc.subject | พืชทดแทน | th_TH |
dc.subject | ข้าวโพด--การปลูก | th_TH |
dc.title | การส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก | th_TH |
dc.title.alternative | The extension of Robusta coffee production to replace maize production by farmers in Mae Chan Sub-district, Umphang District, Tak Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) social and economic conditions of maize production farmers; 2) knowledge of farmers about Robusta coffee production; 3) media exposure behavior of farmers for Robusta coffee production extension; 4) motivation and needs in the extension of Robusta coffee production; and 5) problems and suggestions about Robusta coffee production extension. The registered farmers in the production year 2021/22 served as the population of this study. There was a total of 719 registered maize production farmers in the Mae Chan sub-district, Umphang district, Tak province. From this, the sample size of 159 people was derived and computed based on the Taro Yamane formula with an error value of 0.07 through a simple random sampling method of lotto picking. Data were collected by conducting an interview and were analyzed using basic statistical measures such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The results of the research were given below. 1) most of the farmers were female with an average age of 35.93 years of age, an average number of household laborers of 4.55 people, a mean agricultural area of 29.43 Rai, with the use of their own funds, earned an average income from the agricultural produce of 75,345.91 Baht/year and an average expense of 30,094.34 Baht/year in their agricultural production. 2) farmers had moderate knowledge about Robusta coffee production but most of them were very knowledgeable that Robusta coffee is suitable for growing at an altitude of 0 - 700 meters from sea level. 3) farmers had the most pressing need for receiving personal media from the village headman and agricultural extension officers; most of them received the information about 1-5 times/week, 18.01 to 24.00 time period from the village headman and 06.01 to 12.00 o’clock from the agricultural extensionists; the majority have not received information from mass media or specific medium. 4) farmers had high motivations in producing Robusta coffee due to the price guaranteed in production. There’s a moderate need for assistance in the knowledge content of Robusta coffee with the highly needed in the issue knowledge of Robusta coffee pest prevention. The need for extension methods was moderate with the highly needed in the group extension method. 5) the farmers encountered problems in Robusta coffee production at a minimal level. They suggested that a Robusta coffee producer organization be established and that officers should regularly visit the farmer crops for both sides to develop and jointly solve problems | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม | th_TH |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License