Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12953
Title: การส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
Other Titles: The extension of Robusta coffee production to replace maize production by farmers in Mae Chan Sub-district, Umphang District, Tak Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
โชคชัย แซ่มี, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: กาแฟโรบัสต้า
กาแฟ--ไทย--การผลิต
พืชทดแทน
ข้าวโพด--การปลูก
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้า 3) พฤติกรรมการรับสื่อของเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า 4) สิ่งจูงใจและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ประจำปีการผลิต 2564/65 จำนวน 719 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 159 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 35.93 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 4.55 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 29.43 ไร่ มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 75,345.91 บาทต่อปี และมีรายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,094.34 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีความรู้มากในประเด็น กาแฟโรบัสต้าเหมาะสำหรับปลูกที่ความสูง 0 - 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล 3) เกษตรกรมีความต้องการรับสื่อประเภทสื่อบุคคลมากที่สุด ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและนักส่งเสริมการเกษตร โดยส่วนใหญ่มีการรับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น.ได้รับข้อมูลข่าวสารจากนักส่งเสริมการเกษตร 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 06.01-12.00 น. และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ 4) เกษตรกรมีสิ่งจูงใจในผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับมาก ในประเด็น การมีการประกันราคาผลผลิตกาแฟโรบัสต้ามากที่สุด มีความต้องการในการส่งเสริมด้านเนื้อหาในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการมากที่สุดในประเด็นองค์ความรู้การป้องกันกำจัดศัตรูกาแฟโรบัสต้า และมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มมากที่สุด 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าอยู่ในระดับน้อย และเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมการรวมเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้าและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรเยี่ยมและติดตามแปลงเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12953
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons