กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12954
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The extension need of Cavendish banana' farmers production at Nong Suea, Pathum Thani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์
นิภาดา คัทเนตร์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: กล้วยหอม--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การรับรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกร 3) ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกร 4) ปัญหาในการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกรประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตกล้วยหอม ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ปี พศ. 2565 จำนวนทั้งหมด 449 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 116 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 66.4 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.52 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ปวช.) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหอมเฉลี่ย 46.6 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 17.41 ไร่ พื้นที่ปลูกกล้วยหอมเฉลี่ย 14.51 ไร่ รายได้จากการผลิตกล้วยหอมเฉลี่ย 744,637.93 บาทต่อปี เกษตรกรร้อยละ 80.2 มีแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืม 2) เกษตรกรทั้งหมดมีการรับรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยหอม ยกเว้นเรื่องการตัดแต่งใบและการไถพรวนดิน ส่วนการปฏิบัติ พบว่าเกษตรกรทั้งหมดมีการปฏิบัติในการผลิตกล้วยหอมตามหลักวิชาการ ยกเว้นเรื่องการไถพรวนดิน การใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ระยะห่างที่เหมาะสม และการตัดแต่งใบ 3) ความต้องการการส่งเสริมพบว่า เกษตรกรมีความต้องการด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิธีการอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ แบบรายบุคคล แบบกลุ่ม และแบบมวลชน ส่วนด้านผู้ส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยการผลิต ด้านการตลาด และด้านการส่งเสริม ส่วนระดับปานกลาง มี 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมและด้านปัญหาของเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12954
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons