Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12958
Title: | การยอมรับโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ของเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหาร |
Other Titles: | Adoption of the production change by Agri-Map project of farmers in Mukdahan Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ คนิสริน เย็นไทย, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | การบริหารการเกษตร การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารงานผลิต |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม 2) แรงจูงใจ 3) ความต้องการ 4) การยอมรับ และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อ การบริหารจัดการเชิงรุกของเกษตรกรประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกของกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 250 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 113 รายสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.87 ปี จบชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.96 คน ประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 30.93 ปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 17.29 ไร่ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 141,309.73 บาท/ปี มีการปรับโครงสร้างให้มีคันดินเพิ่มขึ้น ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสาน ได้รับการสนับสนุนปูนโดโลไมท์ ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน 2) เกษตรกรมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ด้านการได้รับการส่งเสริมงบประมาณสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในพื้นที่จากภาครัฐ โดยที่เกษตรกรไม่มีค่าใช้จ่าย 3) เกษตรกรมีความต้องการปัจจัยการผลิต เช่น ปูนโคโลไมท์พืชปุ๋ยสด ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรยอมรับเชิงเนื้อหา ในระดับมากที่สุด เฉลี่ย15.61 ข้อ โดยร้อยละ 96.5 ยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 เพื่อควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช และยอมรับเชิงปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด เฉลี่ย 8.58 ข้อ โดยร้อยละ 97.3 ยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ การเข้าถึงข้อมูลโครงการฯ ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สินเชื่อต่าง ๆ เสนอแนะให้สนับสนุนปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ พันธุ์ปลา ปุ๋ยหมักและพืชปุ๋ยสด และควรส่งเสริมการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12958 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License