Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12967
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีระวุธ ธรรมกุล | th_TH |
dc.contributor.author | มานะชัย จรูญไธสง | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-03T02:19:28Z | - |
dc.date.available | 2025-01-03T02:19:28Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12967 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเชิงสำรวจนี้ศึกษาในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4,848 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรที่แน่นอน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 และ (3) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา (1) ด้านปัจจัยนำพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยเอื้อพบว่า ความสะดวกในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง อุปกรณ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ด้านปัจจัยเสริม พบว่า การรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกัน โรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ฐานะทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และการรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 10.30 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกัน--ไทย--นครราชสีมา | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--นครราชสีมา | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา | th_TH |
dc.title.alternative | Factors affected to COVID-19 prevention behavior among the elderly in Mueang Yang District, Nakhon Ratchasima Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study (1) predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and COVID-19 prevention behaviors, and (2) factors affecting COVID-19 prevention behaviors among the elderly in Mueang Yang district, Nakhon Ratchasima province. This survey study was conducted in a sample of 363 elderly persons selected using multi-stage sampling method from all 4,848 elderly people in Mueang Yang district, Nakhon Ratchasima province. Data were collected in November to December 2022. The research instrument was a questionnaire covering (1) general information of the elderly, (2) factors affecting COVID-19 prevention behaviors with a Cronbach's alpha of 0.85, and (3) COVID-19 prevention behaviors with a Cronbach's alpha of 0.84. Data were collected and then analyzed with descriptive statistics and multiple linear regression.The results revealed that, all about or related to COVID-19: (1) for leading factors, the levels were high for knowledge, perceived risk and perceived prevention benefits and moderate for attitudes, perceived severity and perceived preventive barriers; for enabling factors, the levels were high for convenience and resources for preventive actions; for reinforcing factors, the levels were high for perceived information, inducer and social support for preventive actions, and moderate for preventive behaviors; and (2) the factors affecting preventive behaviors among the elderly were the number of household members, financial status, knowledge, attitudes, and perceived information, all of which could 10.3% predict COVID-19 prevention behaviors among the elderly. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | อารยา ประเสริฐชัย | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License