กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12967
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affected to COVID-19 prevention behavior among the elderly in Mueang Yang District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระวุธ ธรรมกุล
มานะชัย จรูญไธสง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อารยา ประเสริฐชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โควิด-19 (โรค)--การป้องกัน--ไทย--นครราชสีมา
ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเชิงสำรวจนี้ศึกษาในผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4,848 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรที่แน่นอน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 และ (3) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา (1) ด้านปัจจัยนำพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยเอื้อพบว่า ความสะดวกในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง อุปกรณ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ด้านปัจจัยเสริม พบว่า การรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกัน โรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ฐานะทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และการรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 10.30
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12967
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT (1).pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons