กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12970
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดยโสธร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for the development of processing community enterprises and food product in Yasothon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ สุภาพร ชัยชนะ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ยโสธร การแปรรูปผลิตผลเกษตร--ไทย--ยโสธร ผลิตภัณฑ์อาหาร--ไทย--ยโสธร |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของกรรมการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร 2) ข้อมูลพื้นฐานวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร 4) ปัญหาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดยโสธร ที่ผ่านการประเมินศักยภาพระดับปานกลางในพื้นที่ 9 อำเภอ ของจังหวัดยโสธร มีจำนวน 77 แห่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับ 0.08 ได้ตัวอย่างจำนวน 111 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนแต่ละอำเภอ เก็บรวบรวมข้อมูล จากกรรมการกลุ่ม จำนวน 111 คน โดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) กรรมการกลุ่มฯ ร้อยละ 83.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.90 ปีสถานภาพสมรส ร้อยละ 93.7 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44.1 มีตำแหน่งด้านสาธารณสุขร้อยละ 24.3 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ร้อยละ 82 โดยประกอบอาชีพทำนา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.98 คน แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.27 คน ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีรายได้ต่อปีของครัวเรือนจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 56,783.78 บาท มีรายได้ต่อปีของครัวเรือนจากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 46,596.40 บาท มีหนี้สินเฉลี่ย 85.6 ส่วนใหญ่มีหนี้สินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) ส่วนใหญ่กลุ่มเกิดจากการชักชวนของผู้นำและส่งเสริมของหน่วยงาน ดำเนินกิจกรรมแปรรูปจากผลิตภัณฑ์พืช การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีสถานที่ดำเนินกิจกรรมแปรรูป ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการ 2 ผลิตภัณฑ์ มีปัจจัยการผลิตในชุมชน 3) กรรมการวิสาหกิจชุมชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการเงินด้านการตลาดและด้านการบริหารองค์กร 4) มีปัญหาการดำเนินงานในภาพรวมระดับปานกลางทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านตลาด ด้านการเงิน ด้านการบริหารองค์กร และด้านการผลิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12970 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License