กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12971
ชื่อเรื่อง: | การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Adoption of mung bean seeds production technology of farmers in Lopburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จรรยา สิงห์คา ปาริชาติ ทาบุตร, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ถั่วเขียว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม ถั่วเขียว--เมล็ดพันธุ์--คุณภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในจังหวัดลพบุรี ที่ผ่านการอบรมกับกรมวิชาการเกษตร ปี 2564/65 จำนวน 200 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 134 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศขาย อายุเฉลี่ย 52.46 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตัน มีประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 9.31 ปี มีพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 21.04 ปี ต้นทุนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 2,000.00 บาทต่อปี มีรายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 77,059,70 บาทต่อปี ราคาผลผลิต เฉลี่ย 25.13 บาทต่อกิโลกรัม 2) เกษตรกรมีการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 มีอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 8.36 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวไม่มีการใส่ปุ๋ย มีการให้น้ำในระยะกล้า มีการตรวจพันธุ์ปนในระยะติดฝัก การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด มีปริมาณผลผลิต เฉลี่ย 140.69 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรมีการยอมรับ เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวอยู่ในระดับมาก ในประเด็นด้านการเก็บเกี่ยวและการปรับปรุงสภาพ และด้านการเลือกพื้นที่ปลูกและการเตรียมดิน 4) ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่ว เขียว ด้านการดูแลรักษา ในประเด็นขาดความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะของเกษตรกรควรได้รับการสนับสนุน ปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และการประกันราคาผลผลิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12971 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT (1).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License