Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12972
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์th_TH
dc.contributor.authorนัฐพงษ์ แก้วรัตนชัย, 2524-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-03T03:27:10Z-
dc.date.available2025-01-03T03:27:10Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12972en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม 2) ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 4) การยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 110 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้จำนวน 86 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 53.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54-73 ปี ร้อยละ 27.9 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรเฉลี่ย 14,605.81 บาท/เดือน มีประสบการณ์ในปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 5.52 ปี พื้นที่ปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 5.59 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดมีลักษณะการถือครองพื้นที่ปลูกพืชอินทรีย์เป็นของตนเอง มีรายจ่ายจากการปลูกพืชอินทรีย์เฉลี่ย 3,280.87 บาท/เดือน เกษตรกรทั้งหมดเคยเข้ารับการฝึกอบรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม โดยได้รับข่าวสาร จากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน/ส่งเสริมการเกษตร สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าอันดับ 1 คือ คิดมีฟาร์ม 2)ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การแยกภาชนะและสถานที่เก็บ หลักการพื้นฐานแบบมีส่วนร่วม และการสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การมีผลต่อ ผู้บริโภค เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ 4) การยอมรับเชิงเนื้อหา พบว่า เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ ภาชนะและสถานที่เก็บ การใช้เมล็ดพันธุ์ การประชุมกลุ่มและกฎกติกากลุ่ม ส่วนการยอมรับเชิงปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรยอมรับอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การปรับปรุงบำรุงดิน ภาชนะและสถานที่เก็บ 5) เกษตรกรมีปัญหาการยอมรับอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ การรับรองมาตรฐาน และการส่งเสริม โดยอันดับ 1 คือ ปัญหาความรู้ความเชี่ยวชาญของนักส่งเสริมการเกษตร ข้อเสนอแนะ คือ นักส่งเสริมการเกษตรควรมีความรู้และมีเวลาในการส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมและนำไปปฏิบัติได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการยอมรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐมth_TH
dc.title.alternativeAdoption of organic vegetable farmers in Nakhon Pathom Province for certificaiton of participatory guarantee systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) social and economic conditions of the organic vegetable farmers in Nakhon Pathom province 2) knowledge regarding to organic agriculture and participatory based on organic agricultural standard certification 3) opinions about the certification of participatory guarantee for organic agriculture standards 4) the adoption of participatory guarantee for organic agriculture standards certification 5) problems and suggestions about the adoption of participatory guarantee for organic agricultural standard certification. The population of this study was 110 organic vegetable farmers in Nakhon Pathom province. The sample size of 86 persons was determined by using Taro Yamane formula and simple random sampling method. Data were collected by using interview questions and were then analyzed by using descriptive statistics i.e. frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation and ranking. The results showed that 1) 53.5% of the farmers were female with the average age of 54.73 years. 27.9% of them were graduated with a Bachelor’s degree. The average income from agriculture was 14,605.81 baht/month. The average number of years of experience in organic vegetable production was 5.52 years. The average farm size for organic plant production was 5.59 rai. The farmers were the actual owners of the cultivated lands for organic plant production. The average expense from organic vegetable production was 3,280.87 baht/month. All of the farmers had attended the training on participatory guarantee for organic agricultural standard certification. They got the information from land development officers/agricultural extension officers. The farmers’ opinion about the top worthy marketplace was Kid Mee Farm. 2) knowledge regarding to organic agriculture and participatory based on organic agricultural standard certification was at high level i.e. crop rotation, the separation of containers and storage rooms, fundamental principle of participation and to build consumer trust. 3) The farmers’ opinion about participatory guarantee for organic agriculture standard certification was at high level in 3 aspects i.e. the effect on the consumers, farmers and officers. 4) The farmers accepted about the content at high level in the container and storage place, seed usage, group meeting and group’s rules and regulation. The farmers adopted the practice at high level in crop rotation, soil improvement and container and storage place. 5) The farmers had problems about the adoption at high level in 2 aspects i.e. standard certification and extension. The most problematic problem was the agricultural extension officers’ knowledge and expertise. The farmers suggested that the agricultural extension officers gain knowledge and have times for extension so that the farmers adopted participatory guarantee for organic agricultural standard certification and brought into practice.en_US
dc.contributor.coadvisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons