Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภนา สุดสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorณัฐญา วงค์จำปา, 2535-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-03T08:21:45Z-
dc.date.available2025-01-03T08:21:45Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12983en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 323 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านสมรรถนะของครูผู้สอน ด้านการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และด้านเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88, .83, .82, และ .84 ตามลำดับ และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสมรรถนะของครูผู้สอน ด้านเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน ด้านการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร 2) การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษา 3) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .871 และ 4) ทุกปัจจัยคัดสรรส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา และร่วมกันทำนายการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 77.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารโรงเรียน--ไทย--นครพนมth_TH
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครพนมth_TH
dc.title.alternativeSelected factors affecting academic administration in the 21st century of schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanomen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to study selected factors related to academic administration in the 21st century of schools; 2) to study academic administration in the 21st century of schools; 3) to study the relationship between selected factors and academic administration in the 21st century of schools; and 4) to study selected factors affecting academic administration in the 21st century of schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom.The sample group consisted of 323 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom, all of whom were obtained by the Krejcie and Morgan and stratified random sampling based on school size. The employed research instrument was a questionnaire dealing with academic administration in the 21st century of schools with reliability coefficients of .87 and the selected factors related to academic administration in the 21st century of schools, consisting of 4 factors: academic leadership of school administrator, competency of teacher, educational resource support, and cooperation network of parent and community, with reliability coefficients of .88, .83, .82, and .84, respectively. Statistics used in data analysis was frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1) the overall and each aspect of selected factors were rated at the high level which ranked in descending order as follows: competency of teacher, cooperation network of parent and community, educational resource support, and academic leadership of school administrator; 2) the overall and each aspect of academic administration in the 21st century of school were rated at the high level which ranked in descending order as follows; teaching and learning management, assessment, evaluation and transfer of learning results, educational supervision, development of internal quality assurance system and educational standard, curriculum development, and development and use of educational technology media; 3) the selected factors correlated positively with academic administration in 21st century of the schools at very high level with statistical significance at .01 level (r =.871; and 4) all of selected factors were affecting academic administration in 21st century of the schools. These factors were significant predictors of academic administration in the 21st century of schools and they could explain 77.60 % with statistical significance at .01 level.en_US
dc.contributor.coadvisorอรรณพ จีนะวัฒน์th_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons