Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์th_TH
dc.contributor.authorเมธี ทวีโชค, 2537-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-06T01:31:17Z-
dc.date.available2025-01-06T01:31:17Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12984en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 จำนวน 301 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกนที่ระดับความน่าเชื่อถือ 95% และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ การเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการ การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาศักยภาพของครู และบุคลากร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90, .92, .91, .92, และ .90 ตามลำดับ และประสิทธิผลการบริหารการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาปรากฏว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ การเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการ การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากร 2) ประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับ ดังนี้ การยกระดับความก้าวหน้าทางวิชาการของผู้เรียน การเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน การเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนการวัดและประเมินผลผู้เรียน และการเสริมสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง และ 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเรียงตามลำดับ ดังนี้ การพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากร การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ การเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการ และการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาได้ร้อยละ 66.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาth_TH
dc.titleภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1th_TH
dc.title.alternativeAcademic leadership of administrators affecting effectiveness of learning management in the 21st century of schools under Yasothon Primary Education Service Area Office 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to study academic leadership of administrators; 2) to study effectiveness of learning management in the 21st century of schools; 3) to study the relationship between academic leadership and learning management effectiveness in the 21st century; and 4) to study the academic leadership of administrators affecting effectiveness of learning management in the 21st century of schools under Yasothon Primary Education Service Area Office 1.The research sample comprised of 301 school teachers under Yasothon Primary Education Service Area Office 1, obtained by stratified random sampling based on school size. The sample size was determined based on the Krejcie and Morgan’s Sample Size Table at a reliability level of 95%. The instrument used was a questionnaire on academic leadership of administrators, namely, vision for change, curriculum development and learning management process, enhancing the academic climate, supporting information technology innovation, and the potential development of teachers and personnel with reliability coefficients of .90, .92, .91, .92, and .90, respectively, and on the effectiveness of learning management in the 21st century with reliability coefficients of .92. The statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, Pearson’s product- moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.The research findings indicated that 1) the overall of academic leadership of administrators were rated at the high level and the specific aspects could be ranked from top to bottom as follows: vision for change, curriculum development and learning management process, enhancing the academic climate, supporting information technology innovation and; 2) the overall of effectiveness of learning management in the 21st century of schools were rated at the high level and the specific aspects could be ranked from top to bottom as follows: raising learners’ academic progress, enhancing the desirable characteristics of learners, strengthening the key competencies of learners, measuring and evaluating learners; and strengthening the network of learning resources; 3) academic leadership of administrators related to effectiveness of learning management in the 21st century of schools were positively correlated at a high level; and 4) academic leadership of administrators affected effectiveness of learning management in the 21st were as follows: the potential development of teachers and personnel, supporting information technology innovation, enhancing the academic and curriculum development and learning management process. All could jointly predict the effectiveness of learning management in the 21st century of schools at 66.80 percent, with a statistical significance at the .01 level.en_US
dc.contributor.coadvisorศจี จิระโรth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons