Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12988
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย |
Other Titles: | Factors affecting the use of non-communicable diseases treatment services of Military Officers at Medical Office, Royal Thai Armed Forces Headquarters |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา ปฏิพัทธ์ วุฒิวิทยารักษ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เอกพล กาละดี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (สนพ.) (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่ สนพ. (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ สนพ. (4) อิทธิพลของปัจจัยดังกล่าว ต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ สนพ. และ (5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื่อรังที่ สนพ.การวิจัยเป็นแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์ ประชากรที่ศึกษา คือ ข้าราชการทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวาน จำนวน 6,324 คน กลุ่มตัวอย่าง 350 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามหน่วยงาน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมีความเที่ยงระหว่าง 0.80-0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า (1) อัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหาร ที่ สนพ. เท่ากับ ร้อยละ 67.14 (2) ข้าราชการทหารที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49.63 ปี มีสถานภาพสมรสจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระยะเวลาที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และไม่มีโรคประจำตัวชนิดอื่น ปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูง สำหรับด้านคุณภาพบริการพบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าคุณภาพบริการด้านความเข้าใจผู้มารับบริการ และด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฯ ที่ สนพ. (4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฯ ที่ สนพ.พบเพียงตัวแปรเดียวคือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ โดยสามารถอธิบายโอกาสที่ข้าราชการจะไปใช้บริการรักษาที่ สนพ. ได้เป็น 1.94 เท่า (95% CI, 1.02-3.72) และ (5) ผู้เข้ารับบริการให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ เพิ่มจำนวนที่จอดรถให้เพียงพอต่อการบริการ ควรแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา ผู้เข้ารับบริการควรได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อร้องขอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12988 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License