Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12989
Title: | การสื่อสารอัตลักษณ์และการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ |
Other Titles: | Identify communication and tourists' perceptions of Srauh-Kraow walking street in Buri Ram Province |
Authors: | กมลรัฐ อินทรทัศน์ ตนุภัทร เรืองปรัชญากุล, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปิยฉัตร ล้อมชวการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน--การประชาสัมพันธ์--ไทย--บุรีรัมย์ ตลาดนัด--ไทย--บุรีรัมย์ ถนนคนเดินเซาะกราว |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารอัดลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) การรับรู้อัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ในสายตานักท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 3 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ รองผู้อำนวยการกองสารณสุข เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ กรรมการบริหารถนนคนเดินเซราะกราว เจ้าหน้าที่บัญชีถนนคนเดินเซราะกราวและโฆษกประจำถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 คน 2) ตัวแทนคณะกรรมการผู้ประกอบการถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 คน และ 3) ตัวแทนประชาชนที่เดินทางมาตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 15 คน รวมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) การสื่อสารอัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่ามีการสื่อสารผ่านสื่อ 5 ประเภทคือ (1) สื่อบุคคล ได้แก่บุคคลจากหน่วยงานรัฐและเอกชน บุคคลในท้องถิ่นผู้ประกอบการ ศิลปินดารา นักท่องเที่ยว (2) สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่สื่อเสียงตามสาย โปสเตอร์ แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมและการจัดการแสดง (3) สื่อมวลชน ได้แก่ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ (4) สื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เพจเฟสบุ๊ค การรีวิว การเช็คอินผ่านสื่อออนไลน์ และ(5) สื่อกิจกรรมพิเศษต่างๆเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์หลัก 7 ด้านคือ (1) การเป็นถนนสายวัฒนธรรม เป็นลานบ้านลานเมือง (2) การแสดงพื้นบ้านเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดและต้อนรับนักท่องเที่ยว (3) ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นพื้นที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าพื้นบ้านของดีจังหวัด (4) อาหารพื้นบ้าน เป็นแหล่งรวมอาหาร ขนมพื้นบ้านของอร่อยของจังหวัด (5) ถนนปลอดโฟม ปลอดน้ำอัดลม เหล้าบุหรี่ เป็นถนนคนเดินเพื่อสุขภาพ (6) ตลาดนัดอาหารปลอดภัย ผู้ประกอบการถนนคนเดินต้องทำตามกฎอนามัยของกระทรวงสาธารณสุข (7) ตลาดต้องชม ได้รับคัดเลือกให้เป็นตลาดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน 2) การรับรู้อัตลักษณ์ของตลาดนัดถนนคนเดินเซราะกราวจังหวัดบุรีรัมย์ ในสายตานักท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่มีการรับรู้อัตลักษณ์ด้านการเป็นถนนสายวัฒนธรรม แหล่งรวม ศิลปะการแสดงและผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมากที่สุด รองลงมาคือ การเป็นแหล่งรวมอาหารพื้นบ้านและขนมพื้นบ้าน และการเป็นตลาดนัดอาหารปลอดภัย ถนนปลอดโฟม. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12989 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License