Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12991
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลรัฐ อินทรทัศน์th_TH
dc.contributor.authorพรัชฌา พิชญปัญญากุล, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-06T04:14:11Z-
dc.date.available2025-01-06T04:14:11Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12991en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร 2) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานครกับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชาย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ที่มีพฤติกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำกัดเพศ และอายุ อาศัยในกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปิดรับสื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร มีการเปิดรับสื่อ ในช่วงเวลา 18.01 น.- 21.00 น. มากที่สุด โดยกลุ่มเจเนอเรชั่นซี มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ๆ ละ 1-3 ชั่วโมงต่อครั้ง วันที่นิยมเปิดรับสื่อมากที่สุด คือ วันเสาร์ ส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องมือการสื่อสารที่กลุ่มเจเนอเรชั่นซี ใช้มากที่สุด คือ สมาร์ทโฟน 2) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่ม เจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ข้อมูล และการส่งเสริมการขายส่งผล ต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจนอเรชั่นซีตามลำดับ 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานครกับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชาย เพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และการศึกษาที่แตกต่างกันพบว่า มีการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายไม่แตกต่างกัน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานครพบว่า การสื่อสารการตลาดออนไลน์ในด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการสื่อสารทางการตลาด--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectชุดชั้นในบุรุษ--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectเจเนอเรชันแซด--การสื่อสารth_TH
dc.titleการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeOnline marketing communication that affects the buying decisions of Generation C consumers in Bangkok about purchasing men’s underwearen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต(การบูรณาการการสื่อสาร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the online media exposure of Generation C consumers in Bangkok; 2) to study online marketing communication tools that affected buying decisions of Generation C consumers in Bangkok considering buying men’s underwear; 3) to compare the decisions of Generation C consumers in Bangkok buy or not buy men’s underwear products when grouped by demographic factors; and 4) to study the relationships between different online marketing tools and consumers’ decisions to buy or not buy men’s underwear products.This was quantitative research using the survey method. The sample population was 400 Generation C consumers (all ages within the generation and all genders) who lived in Bangkok and who had 24-hour Internet access in every location. The samples were chosen through multi-level sampling. The data collection tool was a questionnaire. Data were statistically analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t test, ANOVA and Pearson’s correlated coefficient.The results showed that 1) the samples were exposed to online media most often during the time period 18.01- 21.00 and most often on Saturdays. On average, they were exposed to online media every day for 1-3 hours at a time. The type of device most of them used was a smartphone. 2) The online marketing communication tools that affected buying decisions of Generation C consumers in Bangkok when considering buying men’s underwear were advertisements, public relations information and promotions, all of which were rated at high level. 3) Differences in gender, age, marital status, monthly income, occupation, and educational level were not correlated with any differences in decisions to buy or not buy men’s underwear. 4)The online marketing tools of advertisements, public relations information andpromotions were correlated with consumers’ decisions to buy men’s underwear products to a statistically significant degree at 0.01en_US
dc.contributor.coadvisorปิยฉัตร ล้อมชวการth_TH
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons