Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12993
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Factors affecting herbal use behaviors for self-healthcare of people in Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล
พัชราพร หัตถิยา, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อนัญญา ประดิษฐปรีชา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การรักษาด้วยสมุนไพร--ไทย--นครศรีธรรมราช
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง--ไทย--นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ศึกษาในประชาชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 155,965 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 766 คน ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบทราบขนาด ประชากรและใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ลักษณะส่วนบุคคล 2) ปัจจัยนำ 3) ปัจจัยเอื้อ 4) ปัจจัยเสริม และ 5) พฤติกรรมการใช้สมุนไพร มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88, 0.82, 0.76, 0.80 และ 0.82 ตามลำดับ เก็บข้อมูลในเดือนกันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านปัจจัยนำ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับควรปรับปรุง ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่า ช่องทางในการได้มาซึ่งสมุนไพรอยู่ในระดับสูง ค่าใช้จ่ายหรือราคาของสมุนไพรอยู่ในระดับสูง รูปแบบที่เอื้อต่อการใช้สมุนไพรอยู่ในระดับสูง ด้านปัจจัยเสริม พบว่า การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการใช้สมุนไพรอยู่ในระดับปานกลาง การเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชน ได้แก่อายุ ประสบการณ์ใช้สมุนไพร ช่องทางในการได้มาซึ่งสมุนไพร ค่าใช้จ่ายหรือราคาของสมุนไพร การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการใช้สมุนไพร และการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชน ได้ร้อยละ 23.0
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12993
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons