Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12998
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Effectiveness of a health literacy development program in Coronavirus 2019 prevention for older adults with diabetes mellitus in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา
มนสิชา เวรุนัต, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุทธีพร มูลศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
โควิด-19 (โรค)--การป้องกัน
ผู้ป่วยเบาหวาน--การดูแล
ความรอบรู้ทางสุขภาพ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยามาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน อาศัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มแบบเป็นระบบ เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน โดยประยุกต์แนวคิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุของมานาโฟและหว่อง กิจกรรมประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์ มีระยะเวลา 6 สัปดาห์ 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .95 และ 1.00 ตามลำดับ และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีค่าความเที่ยงคูเดอร์-ริชาดสัน 20 เท่ากับ .85 ส่วนพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12998
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons