Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13000
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเองโดยการเยี่ยมบ้านทางไกล สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ ในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Effectiveness of a self-regulation skill enhancement program by tele-home-visiting for uncontrolled type 2 diabetes patients in Kaeng Khro District, Chaiyaphum Province
Authors: นพวรรณ เปียซื่อ
จักรินทร์ เคนรัง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุทธีพร มูลศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์
การเยี่ยมบ้าน
ผู้ป่วยเบาหวาน--บริการทางการแพทย์--ไทย--ชัยภูมิ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเองโดยการเยี่ยมบ้านทางไกลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมโรคเบาหวาน พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 126-180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาศัยในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน โดยจับคู่ อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนัก เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเองโดยการเยี่ยมบ้านทางไกลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ โดย ประยุกต์ทฤษฎีการควบคุมตนเองของแบนดูราใช้ในการพัฒนาทักษะการสังเกตตนเอง การตัดสินใจ และ การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง กิจกรรมประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมบ้านทางไกลผ่านวิดีโอคอล มีระยะเวลา 10 สัปดาห์ 2) คู่มือการเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเองในการควบคุมโรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .99 ทั้งสองส่วน และมีค่าความเที่ยงของสัมประสิทธิ์ อัลฟาครอนบราค เท่ากับ .90 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมโรคเบาหวานและพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และด้านการรับประทานยา ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13000
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons