Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13001
Title: | การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ของคนเจเนอเรชั่นวาย |
Other Titles: | Information exposure through social media and political participation of Gen Y regarding the Bangkok Governor Election of 2022 |
Authors: | บุษบา สุธีธร ธนะณัช เกียรติพันธุ์สดใส, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสาวนี ชินนาลอง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย--กรุงเทพฯ เจเนอเรชันวาย--สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร--การเลือกตั้ง |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ของคนเจเนอเรชั่นวาย 2) เปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯตามลักษณะทางประชากรของคนเจเนอเรชั่นวาย และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯของคนเจเนอเรชั่นวาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2524-2543 จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำความถี่ ค่ร้อยละ ค่เฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสับประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่การทดสอบค่าไคลแควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองในการเลือกตั้งอยู่ในระดับมาก โดยเปิดรับผ่านสื่อสังคมประเภทเฟซบุ๊กมากที่สุด และส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาเปิดรับข้อมูลข่าวสาร 15-30 นาทีต่อครั้ง โดยมีระดับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าข้อมูลด้านอื่นๆ และส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯครั้งนี้ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง ในระดับมาก 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯผ่านสื่อสังคมแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปริญญาโทและอื่นๆ มีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คนเจเนอเรชั่นวายที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผ่านสื่อสังคมแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปริญญาโท และอื่นๆ มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านอาชีพผู้ที่มีอาชีพนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานเอกชน ลูกจ้าง และอื่นๆ มีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ มากกว่ากลุ่มอาชีพธุรกิจส่วนตัว ด้านรายได้ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท, 15,001-25,000 บาท, 35,001-45,000 บาท มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือน 45,001 บาท ขึ้นไป 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก และมีคำความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13001 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License