Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศth_TH
dc.contributor.authorปัญจมาพร สาตจีนพงษ์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-10T07:43:01Z-
dc.date.available2025-01-10T07:43:01Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13018en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการที่คลินิกรับยาต้านไวรัสเอชไอวีของโรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีค่าซีดีสี่ (CD4) ต่ำกว่า 500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีโรคประจำตัว ได้แก่ หอบหืด ภูมิแพ้ หรือเคยมีประวัติเป็นปอดอักเสบหรือวัณโรค อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูง โดยประยุกต์แนวคิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของสมาคมผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งชาติออสเตรเลียใช้ในการพัฒนาทักษะความรู้ การแสวงหาความรู้ การพูด การใช้ข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจ และการแสดงออก กิจกรรมประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการให้ความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และ .80 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงคูเดอร์-ริชาดสันของความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ .85 ส่วนพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันth_TH
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวี--การดูแลth_TH
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูงth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness of a health literacy development program in Coronavirus 2019 prevention for high-risk persons with HIV infectionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research was a two-group pretest-posttest design. The purposes of the research were to study the effects of a health literacy development program in Coronavirus 2019 prevention for high-risk persons with Human Immunodeficiency Virus (hereafter “people with HIV” or PWH) on their health literacy and their Coronavirus 2019 preventive behavior. The samples were PWH who came to receive services at the HIV clinic of Pathum Thani Hospital. The samples had CD4 of less than 500 per cubic millimeter, had asthma or allergies as underlying diseases, or had a history of pneumonia or tuberculosis. They all were living in Mueang District, Pathum Thani Province. The sample was selected by random sampling and put into an experimental group and a comparative group with 32 persons each. Research instruments were 1) a health literacy development program in Coronavirus 2019 prevention for the high-risk group of PWH. The program was based on the concept of health literacy development for PWH contributed by the National Association of People with HIV in Australia, for skill development in knowledge, knowledge-seeking, verbal expression, information utilization, decision making, and assertiveness. The 6-week program activities were workshops and knowledge reviewing by LINE application. 2) a handbook of health literacy in Coronavirus 2019 prevention. 3) questionnaires on health literacy and Coronavirus 2019 preventive behavior. The content validity indexes were .95 and 1.00, respectively. Kuder-Richardson-20 of the health literacy questionnaire was .85. Cronbach’s alpha coefficient of the Coronavirus 2019 preventive behavior questionnaire was .83. Data were analyzed by descriptive statistics and a t-test. The result revealed as follows: after enrolling in the program, the health literacy and preventive behavior in Coronavirus 2019 prevention of the experimental group was better than before enrolling in the program and better than the comparative group to a statistically significant degree at p-value < .01.en_US
dc.contributor.coadvisorสุทธีพร มูลศาสตร์th_TH
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons