Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13018
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูง |
Other Titles: | Effectiveness of a health literacy development program in Coronavirus 2019 prevention for high-risk persons with HIV infection |
Authors: | เพ็ญพักตร์ อุทิศ ปัญจมาพร สาตจีนพงษ์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุทธีพร มูลศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ โควิด-19 (โรค)--การป้องกัน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--การดูแล |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการที่คลินิกรับยาต้านไวรัสเอชไอวีของโรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีค่าซีดีสี่ (CD4) ต่ำกว่า 500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีโรคประจำตัว ได้แก่ หอบหืด ภูมิแพ้ หรือเคยมีประวัติเป็นปอดอักเสบหรือวัณโรค อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มเสี่ยงสูง โดยประยุกต์แนวคิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของสมาคมผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งชาติออสเตรเลียใช้ในการพัฒนาทักษะความรู้ การแสวงหาความรู้ การพูด การใช้ข้อมูลข่าวสาร การตัดสินใจ และการแสดงออก กิจกรรมประกอบด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการให้ความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และ .80 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงคูเดอร์-ริชาดสันของความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ .85 ส่วนพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13018 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License