กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13035
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปิยฉัตร ล้อมชวการth_TH
dc.contributor.authorจีรวรรณ พรมพงษ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:07:18Z-
dc.date.available2025-01-24T08:07:18Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13035-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” เพื่อการท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี  2) การตัดสินใจท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม“เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” ของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กและการรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” กับการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกสื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กของกลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงข้อมูลท่องเที่ยวด้วยเครื่องมือสมาร์ทโฟนมากที่สุด  โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และโปรแกรมค้นหา ในการหาข้อมูลท่องเที่ยว ใช้แหล่งข้อมูลบุคคลผ่านสื่อดิจิทัลในระดับมากที่สุด และเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยการค้นหาข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ข้อมูลการเดินทาง และข้อมูลสถานที่พัก เรียงตามลำดับ 2) การตัดสินใจท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กของกลุ่มตัวอย่างพบว่า การรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กและการรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่างพบว่า (1) ช่องทางในการหาข้อมูลท่องเที่ยวและการเข้าถึงเนื้อหาท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) แหล่งข้อมูลในการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยว (3) เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทางการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) การรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01th_TH
dc.language.isoth-
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.subjectการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต--เจนเนอเรชันแซดth_TH
dc.subjectเฟซบุ๊กth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” เพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีth
dc.title.alternativeGeneration C’s usages of the “Tiow Tua Thai Pai Hai Tour” facebook group for Their Tourism Decision Makingen_US
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การบูรณาการการสื่อสาร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) Gen C’s media usages behavior in utilizing the “Tiew Tua Thai Pai Hai Toa” (Tour Around Thailand, Go Everywhere) Facebook group to access to tourism information; 2) Gen C’s media usages for their tourism decision making; and 3) Correlations between Gen C’s Facebook usages behavior and the awareness of tourism information gained related to their tourism decision-making.                   Quantitative research was used by using the survey method. The sample was 400 members of the “Tiew Tua Thai Pai Hai Toa” Facebook group, chosen by multi-levels sampling. The research instrument was an online questionnaire. Data were statistically analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlated co-efficient.The results found 1) most of the sample accessed tourism information by using their smart phones, using social media and search engines to seek for tourism information followed by other personal usages. They accessed tourism-related contents by using search terms based on expenses, travel routes, and accommodations respectively; 2) For tourism decision-making, the samples had a high level of awareness of tourism information related with their decision-making process; 3) Correlations between the samples’ Facebook group usages behavior, their awareness of tourism information, and their tourism-related decision-making revealed that (1) the channel used for searching tourism information and access to tourism-related content were statistically significant at 0.05 correlated to tourism-related decision-making; (2) the source of tourism-related information was not correlated to tourism-related decision-making; (3) the tourism-related content was statistically significant at 0.01 correlated to tourism-related decision making; and  (4) the awareness of tourism-related information was statistically significant at 0.01 correlated to tourism-related decision-making.en_US
dc.contributor.coadvisorกมลรัฐ อินทรทัศน์th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2611500568.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น