กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13035
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” เพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Generation C’s usages of the “Tiow Tua Thai Pai Hai Tour” facebook group for Their Tourism Decision Making
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ
จีรวรรณ พรมพงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์
กมลรัฐ อินทรทัศน์
คำสำคัญ: การค้นหาทางอินเทอร์เน็ต--เจนเนอเรชันแซด
เฟซบุ๊ก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” เพื่อการท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี  2) การตัดสินใจท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม“เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” ของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กและการรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” กับการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกสื่อเฟซบุ๊กกลุ่ม “เที่ยวทั่วไทยไปให้ทั่ว” ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กของกลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงข้อมูลท่องเที่ยวด้วยเครื่องมือสมาร์ทโฟนมากที่สุด  โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และโปรแกรมค้นหา ในการหาข้อมูลท่องเที่ยว ใช้แหล่งข้อมูลบุคคลผ่านสื่อดิจิทัลในระดับมากที่สุด และเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยการค้นหาข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ข้อมูลการเดินทาง และข้อมูลสถานที่พัก เรียงตามลำดับ 2) การตัดสินใจท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อเฟซบุ๊กของกลุ่มตัวอย่างพบว่า การรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กและการรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่างพบว่า (1) ช่องทางในการหาข้อมูลท่องเที่ยวและการเข้าถึงเนื้อหาท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) แหล่งข้อมูลในการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยว (3) เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทางการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) การรับรู้ข้อมูลท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2611500568.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น