Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13037
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลรัฐ อินทรทัศน์th_TH
dc.contributor.authorสิทธิรักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:07:19Z-
dc.date.available2025-01-24T08:07:19Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13037en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบผลกระทบจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครจำแนกตามลักษณะประชากรของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์โดยมีพฤติกรรมการใช้งานทุกวันและนิยมใช้อินสตาแกรมมากที่สุด รองลงมาคือ ติ๊กต๊อก และเฟซบุ๊ก ตามลำดับ โดยใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก ได้แก่ ดูหนัง ฟังเพลง และติดตามข่าวสารของศิลปินและดารา รองลงมาคือ หาเพื่อนใหม่ โพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ อัปเดตสถานะ และเพื่อการเรียน ตามลำดับ 2) ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นผลกระทบเชิงบวกคือ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารทางไกลระหว่างสมาชิกในครอบครัวและช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบคือทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพได้แก่ เครียด ปวดหัว นอนไม่เพียงพอ ขาดสมาธิในการเรียนตามลำดับ และ 3) เปรียบเทียบผลกระทบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับลักษณะประชากรของนักเรียนพบว่า เพศ อายุ แผนการเรียน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalth_TH
dc.subjectพฤติกรรมการใช้สื่อ ผลกระทบจากสื่อ สื่อสังคมออนไลน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeSocial media usages’ behavior and its effect on the Upper Secondary School Students in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การบูรณาการการสื่อสาร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to study the social media use behavior of upper secondary school students in Bangkok; 2) to study the effects of social media use on upper secondary school students in Bangkok; and 3) to compare the effects of social media use behavior when dividing the students by demographic factors.                         This research used the quantitative research with a survey method. The sample was 400 of the upper secondary students of the public schools in Bangkok. Multi stages sampling was used. The research tool was an online questionnaire. Data were analyzed by Descriptive statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, chi square, T- test and ANOVA.  Results found 1) most of the students used smart phones as their primary device for accessing social media every day. Instagram was most used followed by TikTok and Facebook respectively. Main reasons of using social media were entertainment such as movies, music, and the artists’ news followed by seeking for new friends, updating their own status such as posting photo, contents and videos; then lastly for their studies.  2) Effect of using social media was mainly positive at a medium level. Social media helped them to contact and communicate with their family members remotely followed by their relaxation. The negative effects found mainly on emotional and psychological effects affected to their health such as stress, headaches, insufficient sleep, and lack of concentration respectively. 3) The comparative effects found demographic factors had no statistically significant differences among their gender, age, and field of study.en_US
dc.contributor.coadvisorปิยฉัตร ล้อมชวการth_TH
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2641500034.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.