Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13037
Title: | พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Social media usages’ behavior and its effect on the Upper Secondary School Students in Bangkok |
Authors: | กมลรัฐ อินทรทัศน์ สิทธิรักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ปิยฉัตร ล้อมชวการ |
Keywords: | พฤติกรรมการใช้สื่อ ผลกระทบจากสื่อ สื่อสังคมออนไลน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบผลกระทบจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครจำแนกตามลักษณะประชากรของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์โดยมีพฤติกรรมการใช้งานทุกวันและนิยมใช้อินสตาแกรมมากที่สุด รองลงมาคือ ติ๊กต๊อก และเฟซบุ๊ก ตามลำดับ โดยใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก ได้แก่ ดูหนัง ฟังเพลง และติดตามข่าวสารของศิลปินและดารา รองลงมาคือ หาเพื่อนใหม่ โพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ อัปเดตสถานะ และเพื่อการเรียน ตามลำดับ 2) ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นผลกระทบเชิงบวกคือ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารทางไกลระหว่างสมาชิกในครอบครัวและช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบคือทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพได้แก่ เครียด ปวดหัว นอนไม่เพียงพอ ขาดสมาธิในการเรียนตามลำดับ และ 3) เปรียบเทียบผลกระทบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับลักษณะประชากรของนักเรียนพบว่า เพศ อายุ แผนการเรียน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13037 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2641500034.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.