Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13043
Title: | Utilization of the E-Document Communication Technology by Personnel at Nakhon Ratchasima Provincial Court การใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสาร โปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน (E-Document) ของบุคลากรในศาลจังหวัดนครราชสีมา |
Authors: | Jirawan Junphayub จีรวรรณ จันทร์พยับ Siriwan Anantho ศิริวรรณ อนันต์โท Sukhothai Thammathirat Open University Siriwan Anantho ศิริวรรณ อนันต์โท [email protected] [email protected] |
Keywords: | โปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน การยอมรับเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์เทคโนโลยี ศาลจังหวัดนครราชสีมา E-document internal software program Technology acceptance Technology utilization Nakhon Ratchasima Provincial Court |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study: 1) utilization of the E-Document software as communications technology by Nakhon Ratchasima Provincial Court personnel; 2) their acceptance of the software system and awareness of its benefits; and 3) recommendations on how to solve related problems, overcome obstacles and further develop use of the E-Document software. This was mixed-methods research. For the quantitative portion, the entire population of 62 employees and civil servants working at Nakhon Ratchasima Provincial Court were surveyed using a questionnaire. Data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. For the qualitative portion, in-depth interviews were held with 4 key informants, chosen through purposive sampling, who were all civil servants at the court who used the E-Document program. The data collection tool was a semi-structured interview form. Data were analyzed by drawing conclusions. The results showed that 1) Nakhon Ratchasima Provincial Court adopted the E-Document software system to use for the management of the internal sending and receiving of official documents for the purpose of facilitating communications, reducing work steps, increasing the work efficiency of personnel and to help move the organization forward to become a digital court. 2) Overall, the personnel had a high level of acceptance of the E-Document software system and awareness of its benefits. The majority of personnel agreed that the E-Document program help the work of sending and receiving documents within the court to be convenient, fast, and save time in working.; it is easy to search for documents, save costs, reduce paper usage, printed materials and document storage space, and help to obtain information faster. Information is accurate and reliable, and the results of operations can be tracked. 3) Guidelines for solving problems and obstacles are to support the increase of knowledge, understanding and skills in digital technology for personnel, change personnel's attitudes to accept the use of new innovations in work, keep up with changes and be ready to develop themselves to keep up with modern technology systems, including improving and developing the efficiency of digital technology and innovation to be more advanced, easier to use, and should increase the number of computer scientists. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสาร โปรแกรมระบบ การบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน ของบุคลากรในศาลจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาการยอมรับและการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสาร โปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายในของบุคลากรในศาลจังหวัดนครราชสีมา 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสาร โปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายในของบุคลากรในศาลจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้าง ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมดในศาลจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 62 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใช้งานโปรแกรม E-Document คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) ศาลจังหวัดนครราชสีมาได้นำโปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน มาใช้ในการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ศาลยุติธรรมดิจิทัล 2) การยอมรับและการรับรู้ประโยชน์ของการใช้งานโปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายในของบุคลากรโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งการรับรู้ประโยชน์ของโปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า โปรแกรมระบบการบริหารจัดการรับส่งหนังสือราชการภายใน ช่วยให้การปฏิบัติงานรับส่งหนังสือราชการภายในศาลจังหวัดนครราชสีมามีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน สามารถค้นหาเอกสารได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้กระดาษ วัสดุสิ่งพิมพ์ และพื้นที่จัดเก็บเอกสาร ช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารรวดเร็วขึ้น ข้อมูลข่าวสารมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และสามารถติดตามผลการดําเนินงานได้ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ควรสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่บุคลากร ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรให้เกิด การยอมรับการนำนวัตกรรมใหม่ๆ ไปใช้ในการทำงาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้ก้าวไปกับระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมให้มีความล้ำสมัย ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น และควรเพิ่มอัตรากำลังนักวิชาการคอมพิวเตอร์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13043 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2651500189.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.