Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13047
Title: | การบริหารจัดการเครือข่ายการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์อย่างยั่งยืน |
Other Titles: | Sustainable management of the State enterprises workers' relations confederation’s participatory communication network |
Authors: | ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ บุญญฤทธิ์ ชลวิถี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ เครือข่ายสารสนเทศ-- การพัฒนา การจัดการ -- การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการเครือข่ายการสื่อสารสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) 2) ความต้องการและความคาดหวังของสมาชิกต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย สรส. 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบริหารจัดการเครือข่ายการสื่อสาร สรส. และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการสื่อสารเครือข่าย สรส. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 21 คน โดยมีเกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้มีประสบการณ์ในการบริหาร สรส. 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายสหภาพแรงงาน 3 คน นักวิชาการ 3 คน ประธานองค์กรสมาชิก สรส. 3 คน ประธานองค์กรไม่เป็นสมาชิก สรส. 3 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการเครือข่ายการสื่อสาร สรส. พบว่า สรส. เป็นศูนย์กลาง การสื่อสารระหว่างกรรมการบริหารและกรรมการกลาง 41 องค์กร มีบทบาทในการเชื่อมโยงและถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังสมาชิกในเครือข่าย ทั้งนี้มีการใช้เครือข่ายการสื่อสารในการควบคุมการไหลของข้อมูลข่าวสารเพื่อควบคุมประเด็นสาร วิธีการช่วยเหลือ และช่องทางการสื่อสาร 2) ความต้องการและความคาดหวังของสมาชิกต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย สรส. พบว่า สมาชิกมีความต้องการสร้างการมีส่วนร่วมด้านอุดมการณ์เพื่อคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การสร้างสวัสดิการคุณภาพชีวิตที่ดี และการต่อต้านการทุจริต โดยมีความคาดหวังให้กรรมการบริหารและกรรมการกลางสนับสนุนดังนี้ ขั้นที่ 1 การรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำเบื้องต้น ขั้นที่ 2 การประชุมหาแนวทางและวิธีการช่วยเหลือ ขั้นที่ 3 ทำให้เกิดจุดเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่ข้อเรียกร้อง ทั้งนี้มีการใช้เครือข่ายการสื่อสาร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อการติดตาม รวบรวม แก้ปัญหา และการเฝ้าระวัง 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบริหารจัดการเครือข่ายการสื่อสาร สรส. พบว่า มีปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่ส่งผลมากที่สุด ดังนี้ (1) ปัจจัยภายนอก คือ การเมือง เนื่องจากมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (2) ปัจจัยภายใน คือบุคลากร เนื่องจากสมาชิกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเครือข่าย และมีการใช้เครือข่ายการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างมิตรภาพ และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการสื่อสารเครือข่าย สรส. พบว่า การพัฒนาการบริหารจัดการการสื่อสารเครือข่าย สรส. สู่ความยั่งยืนประกอบด้วย (1)การพัฒนาบทบาทการเป็นสมาชิกด้านการเชื่อมโยงกับองค์กรนอกเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายแรงงานต่างประเทศ เครือข่ายแรงงานในประเทศ และเครือข่ายอื่นๆ (2) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเครือข่ายเพื่อให้สะดวก น่าสนใจ ทันเหตุการณ์ หลากหลายช่องทาง และเก็บข้อมูลได้ง่าย (3) การพัฒนาเครือข่ายสู่ความยั่งยืนโดยการจัดกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมประจำปี กิจกรรมประจำเดือน และกิจกรรมเฉพาะกิจ โดยใช้เครือข่ายการสื่อสาร ในการสร้างการเรียนรู้ เนื่องจากมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้พร้อมสนับสนุนด้านวิชาการ และมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากในประเทศและต่างประเทศ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13047 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4621500331.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.