Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13049
Title: การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
Other Titles: Political communication of a democratic political leader, Dr. Arthit Urairat
Authors: กานต์ บุญศิริ
ภัสสร คงเอียด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์
วิทยาธร ท่อแก้ว
Keywords: การสื่อสารทางการเมือง 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
นักการเมือง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เส้นทางการเมืองที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 2) กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 3) วิธีการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และ 4) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์                        การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ทั้งหมด 6 กลุ่มจำนวน 18 คนประกอบด้วย 1) ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 2) ผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จำนวน 4 คน  3) นักสื่อสารมวลชน จำนวน 1 คน 4) นักวิชาการด้านการสื่อสาร จำนวน 4 คน 5) นักการเมือง จำนวน 2 คน และ 6) ผู้สนับสนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จำนวน 6 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ช่วงที่หนึ่งยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ พ.ศ. 2518 - 2534 ได้เริ่มต้นเส้นการเมืองด้วยภาพลักษณ์ข้าราชการหนุ่มจบปริญญาเอกจากต่างประเทศได้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งแพ้การเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง จากนั้นเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้มีแนวคิดในการก่อตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน เป็นเลขาธิการพรรคชาติประชาธิปไตย ต่อมาได้ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งแพ้การเลือกตั้งเช่นกัน ช่วงที่สอง เส้นทางทางการเมือง ยุคประชาธิปไตยของประชาชนพ.ศ.  2535-2540 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และดำรง ตำแหน่งสำคัญ คือ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร จนได้รับสมญานามวีรบุรุษประชาธิปไตยที่แก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองใน การนำเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ช่วงที่สามยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 พ.ศ. 2541-2549 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวง สาธารณสุขที่สร้างระบบการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขประกันสมัครใจปีละ 100 บาท รักษาทุกโรค 2) กระบวนการสื่อสารทางการ เมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ส่งสารทางการเมืองที่ดี มีทักษะการสื่อสารในการให้สื่อสารเพื่อการข้อมูลข่าวสาร การถ่ายทอดความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อปรากฎการณ์ทางสังคมและการเมือง มีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี มีทักษะในการสื่อสารนโยบาย แผนงาน และผลงานใน ขณะที่ทำหน้าที่ผู้นำทางการเมืองในหลายบทบาท มีการปรับตัวและยึดหยุ่นในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้ดี ส่วนใน บทบาทในฐานะผู้ส่งสารจะออกแบบเนื้อหาโดยมีการกำหนดประเด็น ลำดับประเด็น เล่าเรื่อง ขยายความ อย่างชัดเจนก่อนสื่อสาร ให้ ความสำคัญกับการวางแผนการสื่อสาร ลงมือปฏิบัติ และติดตามผลการสื่อสารทุกครั้ง รวมทั้งเป็นนักสื่อสารที่ยึดแนวคิดและอุดมการณ์ ของนักการเมืองประชาธิปไตย 3) วิธีการสื่อสารทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ใช้วิธีการพูดต่อสาธารณะชนด้วย การปาฐกถาที่ยึด หลักวาทวิทยาและหลักตรรกศาสตร์ในการอ้างเหตุผลเพื่อโน้มน้าวใจ และใช้ข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุนทำให้เนื้อหาที่สื่อสาร สามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ส่วนการแถลงข่าวมีทักษะการสื่อสารแบบนักการทูต และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน ด้วยหลักการพึ่งพาซึ่งกันและกันในการทำงานของแต่ละฝ่ายให้บรรลุผล จนกลายเป็นขวัญใจสื่อมวลชน และสื่อมวลชนได้ร่วมกันตั้ง ฉายาว่า “วีรบุรุษประชาธิปไตย” และ 4) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ใช้กลยุทธ์การโน้มน้าวใจตามหลัก วาทวิทยา มีวาทศิลป์ในการพูดโน้มน้าวใจให้คนเชื่อถือและเป็นที่น่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ส่วนการใช้กลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน ได้ยึดหลักการทำงานร่วมกัน ตามบทบาทหน้าที่ ที่มุ่งความสำเร็จ รวมทั้งได้ใช้กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารทั้งผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร และผลการสื่อสารด้วยการวางแผนการสื่อสาร อย่างเป็นระบบ ดำเนินการสื่อสาร โดยคำนึงถึงผลสำเร็จของงานการสื่อสาร มีจัดการทีมงานที่รับผิดชอบชัดเจน และมีการติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบผลการสื่อสารด้วยตนเอง และให้ข้อเสนอปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13049
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4631500115.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.