Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13049
Title: Political Communication of a Democratic Political Leader, Dr. Arthit Urairat
การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
Authors: Phatson Khongaied
ภัสสร คงเอียด
Karn Boonsiri
กานต์ บุญศิริ
Sukhothai Thammathirat Open University
Karn Boonsiri
กานต์ บุญศิริ
[email protected]
[email protected]
Keywords: การสื่อสารทางการเมือง ผู้นำการเมืองแบบประชาธิปไตย อาทิตย์ อุไรรัตน์
Political communication
Democratic political leader
Arthit Urairat
Issue Date:  16
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study: 1) the political journey of the democratic leader Dr. Arthit Urairat that impacted his political communication; 2) Dr. Urairat’s political communication process; 3) his political communication methods; and 4) his political communication strategies.                        This was qualitative research done using the method of in-depth interviews. The 18 key informants, chosen through purposive sampling, comprised 6 groups: 1) Dr. Arthit Urairat; 2) 4 political operatives who worked with him; 3) one journalist; 4) 4 communication academics; 5) 2 politicians; and 6) 6 of his supporters. The research instrument was a structured in-depth interview form. Data were analyzed by drawing conclusions.      The results showed that 1) Dr. Arthit Urairat’s political journey- during the “quasi democratic era” of 1975-1991 Dr. Urairat launched his political career with the image of a young career civil servant who had earned his doctorate from overseas. He ran for the office of governor of Bangkok twice and lost both times. Then, he was appointed as the deputy secretary general to the prime minister under the administration of General Kriangsak Chamanan. Dr. Urairat initiated the idea of establishing the Ministry of Science, Technology and Energy. He became the secretary general of the Democrat party. Next, he ran for member of parliament for Chachoengsao Province but also lost that election. In the second phase of his political career, during the era of people’s democracy (1992-1997), Dr. Urairat was appointed to the position of Minister of Foreign Affairs under P.M. Chatchai Choonhavan and also became the president of the National Assembly, which is a very important position. Dr. Urairat was called the “hero of democracy” after he was able to solve a political crisis by nominating a new prime minister. During the third phase, the era of democracy under the 1997 constitution (1998-2006), Dr. Urairat was named Minister of Public Health and helped launch the “100 baht cures every disease” voluntary health insurance program. 2) Dr. Urairat’s political communication process – Dr. Urairat is a good message sender with strong skills for communicating news and information and transmitting knowledge. He has a good attitude about social and political events and is a good listener. He has skills for communicating policies, plans and work results. When he worked in several different political roles, he was flexible and could adjust for communicating with a diverse range of target groups. As a message sender, he designs content and prepares by selecting topics, setting the order of topics, and planning storytelling and explanations in advance. He places importance on first planning communications, then communicating, and then following up on the results of the communication each time. Lastly, he holds fast to democratic concepts and ideals. 3) Dr. Urairat’s political communication methods – Dr. Urairat makes public speeches using the principles of rhetoric and logic. He uses facts and reason to persuade people. Because he presents academic facts to support his ideas, the listeners are generally easily persuaded. When talking to the press, Dr. Urairat uses diplomatic communication skills. He builds good relationships with journalists based on mutual interdependence so that everyone can achieve good work results. This philosophy helped make him the darling of the media and they began calling him the “hero of democracy.” 4) Dr. Urairat’s political communication strategies – Dr. Urairat persuades people by using the principles of rhetoric and the art of oratory, and he is well respected by the general public, who tend to believe in him. Dr. Urairat was successful in his strategy of forging strong relationships with the press because he held to his value of working together and each fulfilling their proper roles while working towards success. His strategy for managing communications was to manage every aspect from message sender, to message, communication channels, message receivers and results of communication by planning every stage in a systematic way. He communicates with an eye to the end result. He clearly specifies which team members are responsible for which duties, and always follows up and evaluates the success of communication himself. He constantly gives team members suggestions on how to improve communications
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เส้นทางการเมืองที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 2) กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 3) วิธีการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และ 4) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์                        การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ทั้งหมด 6 กลุ่มจำนวน 18 คนประกอบด้วย 1) ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ 2) ผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จำนวน 4 คน  3) นักสื่อสารมวลชน จำนวน 1 คน 4) นักวิชาการด้านการสื่อสาร จำนวน 4 คน 5) นักการเมือง จำนวน 2 คน และ 6) ผู้สนับสนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จำนวน 6 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ช่วงที่หนึ่งยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ พ.ศ. 2518 - 2534 ได้เริ่มต้นเส้นการเมืองด้วยภาพลักษณ์ข้าราชการหนุ่มจบปริญญาเอกจากต่างประเทศได้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งแพ้การเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง จากนั้นเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้มีแนวคิดในการก่อตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน เป็นเลขาธิการพรรคชาติประชาธิปไตย ต่อมาได้ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งแพ้การเลือกตั้งเช่นกัน ช่วงที่สอง เส้นทางทางการเมือง ยุคประชาธิปไตยของประชาชนพ.ศ.  2535-2540 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และดำรง ตำแหน่งสำคัญ คือ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร จนได้รับสมญานามวีรบุรุษประชาธิปไตยที่แก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองใน การนำเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ช่วงที่สามยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 พ.ศ. 2541-2549 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวง สาธารณสุขที่สร้างระบบการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขประกันสมัครใจปีละ 100 บาท รักษาทุกโรค 2) กระบวนการสื่อสารทางการ เมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ส่งสารทางการเมืองที่ดี มีทักษะการสื่อสารในการให้สื่อสารเพื่อการข้อมูลข่าวสาร การถ่ายทอดความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อปรากฎการณ์ทางสังคมและการเมือง มีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี มีทักษะในการสื่อสารนโยบาย แผนงาน และผลงานใน ขณะที่ทำหน้าที่ผู้นำทางการเมืองในหลายบทบาท มีการปรับตัวและยึดหยุ่นในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้ดี ส่วนใน บทบาทในฐานะผู้ส่งสารจะออกแบบเนื้อหาโดยมีการกำหนดประเด็น ลำดับประเด็น เล่าเรื่อง ขยายความ อย่างชัดเจนก่อนสื่อสาร ให้ ความสำคัญกับการวางแผนการสื่อสาร ลงมือปฏิบัติ และติดตามผลการสื่อสารทุกครั้ง รวมทั้งเป็นนักสื่อสารที่ยึดแนวคิดและอุดมการณ์ ของนักการเมืองประชาธิปไตย 3) วิธีการสื่อสารทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ใช้วิธีการพูดต่อสาธารณะชนด้วย การปาฐกถาที่ยึด หลักวาทวิทยาและหลักตรรกศาสตร์ในการอ้างเหตุผลเพื่อโน้มน้าวใจ และใช้ข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุนทำให้เนื้อหาที่สื่อสาร สามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ส่วนการแถลงข่าวมีทักษะการสื่อสารแบบนักการทูต และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน ด้วยหลักการพึ่งพาซึ่งกันและกันในการทำงานของแต่ละฝ่ายให้บรรลุผล จนกลายเป็นขวัญใจสื่อมวลชน และสื่อมวลชนได้ร่วมกันตั้ง ฉายาว่า “วีรบุรุษประชาธิปไตย” และ 4) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ใช้กลยุทธ์การโน้มน้าวใจตามหลัก วาทวิทยา มีวาทศิลป์ในการพูดโน้มน้าวใจให้คนเชื่อถือและเป็นที่น่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ส่วนการใช้กลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน ได้ยึดหลักการทำงานร่วมกัน ตามบทบาทหน้าที่ ที่มุ่งความสำเร็จ รวมทั้งได้ใช้กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารทั้งผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร และผลการสื่อสารด้วยการวางแผนการสื่อสาร อย่างเป็นระบบ ดำเนินการสื่อสาร โดยคำนึงถึงผลสำเร็จของงานการสื่อสาร มีจัดการทีมงานที่รับผิดชอบชัดเจน และมีการติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบผลการสื่อสารด้วยตนเอง และให้ข้อเสนอปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13049
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4631500115.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.