Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13051
Title: | Communication to Gain the Position of Chairman of the Provincial Administrative Organization การสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
Authors: | Karnsupanut Suwannanikom กานต์ศุภณัฐ์ สุวรรณนิคม Hareuthai Panyawuttrakul หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล Sukhothai Thammathirat Open University Hareuthai Panyawuttrakul หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล [email protected] [email protected] |
Keywords: | การสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งและคุณลักษณะทางการเมือง กลยุทธ์การสื่อสาร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด Campaign communication Communication of the characteristics of a candidate Communication strategy Chairman of the provincial administrative organization |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) communication of the characteristics of a candidate for the position of chairman of a provincial administrative organization (PAO); 2) communication strategies to win an election for the position of PAO chairman; and 3) approaches for developing better communications for running for the position of PAO chairman. This research used the qualitative research method of in-depth interviews. There were 12 key informants, chosen through purposive selection, consisting of 1) 3 individuals who had held the position of PAO chairman for at least 2 terms and who had a background of coming from a family of politicians or from the business sector or from the civil service, 2) 6 people working for the communication teams of PAO chairmen (2 from each province), and 3) 3 academics working in the field of political communication. The results showed that 1) Communication of the characteristics of a candidate for the position of PAO chairman consisted of: (1) knowledge and political experience – the candidate was presented as knowledgeable, capable, expert in systematic planning, with a good understanding of bureaucratic rules and procedures, with political experience, and a person with whom the local people are already familiar; (2) personality – the candidate was presented as a good communicator who participates in local events, an upstanding character who speaks clearly in an easy-to-understand way, is credible, demonstrates involvement in local people’s way of life and problems, and is a good listener; (3) morals and transparency – the candidate was presented as ethical, honest, transparent, determined to solve the people’s problems, and willing to work to achieve success for the good of the people. 2) Communication strategies to win the election for the position of PAO chairman consisted of: (1) communicating political vision – designing content that is easy to remember; (2) communicating administrative vision – building relationships, using many diverse communication channels, and using participatory communication; (3) communicating policies – creating content that sparks the interest of the people, building communication networks, using activity media that matches the local people’s context; and (4) communicating results – creating content with topics that are in the public eye, and utilizing diverse communication channels. 3)Approaches for developing better communications for running for the position of PAO chairman consisted of: (1)for communicating the characteristics of the candidate, the candidate’s characteristics should first be evaluated in order to make plans that focus on qualities that are suitable and important to the local people; the candidate’s speaking skills should be honed; the target audiences should be analyzed; goals should be set; and the most appropriate communication channels, topics and style of content should be chosen; (2) for communicating political vision, topics to be communicated should be set based on the needs of the citizens, and there should be a good understanding of the contexts of local politics, national politics and global politics; (3) for communicating administrative vision, efforts should be made to let people see tangible changes and understand the relevant bureaucratic regulations and systems; (4) for communicating policies, content should be determined based on the topics of public interest and current problems faced by the populace, and communication should be compatible with the present political and social context; and (5) for communicating results, communication should be done regularly and should show tangible results, with an emphasis on how the local people benefit from the projects. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารคุณลักษณะเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย 1) ผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ต่ำกว่า 2 สมัย จำนวน 3 คน โดยมีภูมิหลังจากตระกูลนักการเมือง จากภาคธุรกิจ และจากองค์กรภาครัฐ 2) ทีมงานสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๆ ละ 2 คน รวม 6 คน และ 3) นักวิชาการสื่อสารทางการเมือง จำนวน 3 คนผลการวิจัย พบว่า 1) การสื่อสารคุณลักษณะเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย (1) ด้านความรู้ ประสบการณ์การเมือง เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ชำนาญในการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ มีความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบของทางราชการ มีประสบการณ์ทางการเมือง เป็นบุคคลที่ประชาชนในพื้นที่คุ้นเคย (2) ด้านบุคลิกภาพ การสื่อสารและการมีส่วนร่วม มีบุคลิกภาพดี พูดจาชัดเจน น่าเชื่อถือ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมกับความเป็นอยู่และปัญหาของคนในพื้นที่ เป็นผู้รับฟังที่ดี (3) ด้านคุณธรรมความโปร่งใส และความมุ่งมั่น มีคุณธรรม ซื่อตรง โปร่งใส มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาของประชาชน และดำเนินงานให้สำเร็จเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน 2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย (1) การสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมือง โดยการออกแบบเนื้อหาสารที่สร้างให้เกิดการจดจำ (2) การสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการบริหาร โดยการสร้างความสัมพันธ์ การใช้สื่อที่หลากหลายช่องทาง และการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (3) การสื่อสารนโยบาย ใช้กลยุทธ์การสร้างเนื้อหาสารที่กระตุ้นความสนใจของประชาชน การสร้างเครือข่ายเพื่อการสื่อสาร การใช้สื่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริบทของคนในพื้นที่ (4) การสื่อสารผลงาน ใช้กลยุทธ์สร้างเนื้อหาสารที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ (1) การสื่อสารคุณลักษณะ ควรมีการประเมินคุณลักษณะของตนเองเพื่อวางแผน ปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ พัฒนาทักษะด้านการพูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง การกำหนดเป้าหมายการสื่อสาร การเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม รู้จักคัดเลือกเนื้อหาเพื่อนำเสนออย่างเหมาะสม (2) การสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการเมือง ควรมีการกำหนดเนื้อหาการสื่อสารจากความต้องการของประชาชน และมีความเข้าใจในบริบทการเมืองระดับท้องถิ่น ชาติและนานาชาติ (3) การสื่อสารวิสัยทัศน์ทางการบริหาร โดยการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เข้าใจกฎระเบียบต่าง ๆ ของราชการและสื่อสารไปยังประชาชนได้ (4) การสื่อสารนโยบาย ควรมีการกำหนดเนื้อหาในการสื่อนโยบายควรกำหนดจากปัญหา หรือความต้องการของประชาชนและการสื่อสารให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับบริบททางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน และ (5) การสื่อสารผลงาน ควรนำเสนอจากผลงานที่เป็นรูปธรรม มีความสม่ำเสมอในการสื่อสาร และเน้นย้ำประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากผลงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13051 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4631500388.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.