กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13072
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for development of dual system vocational education management in Lopburi College of Agriculture and Technology |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ จันทร์จิราภรณ์ องศากิจบริบูรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนอาชีวศึกษา--ไทย--ลพบุรี ความร่วมมือทางการศึกษา--ไทย--ลพบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี 2) ความต้องการจำเป็นในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรีประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 60 คน ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน และผู้แทนสถานประกอบการจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีค่าความเที่ยง .97 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย คือ การบริหารจัดการ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา และการจัดหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย เรียงลำดับเช่นเดียวกับสภาพปัจจุบัน 2) ความต้องการจำเป็นของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เรียงจากมากไปหาน้อย คือ การจัดหลักสูตร ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี คือ สถานศึกษาและสถานประกอบการควรกำหนดข้อตกลงร่วมก้นในการจัดทำแผนการเรียนรู้และแผนการฝึก จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้ชัดเจนและสร้างความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำหนดบทบาทภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ให้ชัดเจน ประชุมอบรมสร้างความเข้าใจในหลักสูตรแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวัดผลประเมินผล โดยเน้นตามสภาพจริง และมีวิธีการที่หลากหลาย |
รายละเอียด: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13072 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2602300531.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น