กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13117
ชื่อเรื่อง: | Guidelines for Developing Safety Management of Schools under Phuket Provincial Administrative Organization แนวทางการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | RATREE SRIKROD ราตรี ศรีกรด Suttiwan Tuntirojanawong สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ Sukhothai Thammathirat Open University Suttiwan Tuntirojanawong สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | แนวทางการพัฒนา การจัดการความปลอดภัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด Development guidelines Safety management Provincial Administrative Organization |
วันที่เผยแพร่: | 7 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were 1) to study the level of safety management of schools; 2) to compare the safety management of schools as classified by gender, age, education level, work experience, and school size; and 3) to study guidelines for developing safety management of schools under Phuket Provincial Administrative Organization.The research sample consisted of 144 school teachers under Phuket Provincial Administrative Organization, obtained by stratified random sampling based on school size. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The research instrument was a questionnaire on safety management of schools with a reliability of .97. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, Fisher's method of pairwise comparison, and content analysis.The results of the research revealed that 1) the overall and each aspect of safety management of schools were rated at the high level and the specific aspects could be ranked based on their rating means from the highest to the lowest as follows: that of safe buildings and facilities in schools; that of disaster management in schools; and that of risk reduction and disaster adaptation awareness; 2) regarding the comparison of safety management of schools was found that female teachers had different opinions on safety management of schools than male teachers, teachers aged over 50 years had different opinions from teachers aged 31-40 years and 41-50 years, teachers with 1-10 years of experience had different opinions from teachers with 11-20 years of experience and over 20 years of experience. Small-size schools were significantly different from medium-size and large-size schools in all aspects at a statistical level of .05; 3) guidelines for developing safety management of schools proposed that schools should provide CCTV cameras at the risk areas of incidents, use emergency alert systems via mobile phones or other technologies for rapid warning and response, organize evacuation drills in case of floods or crimes, provide knowledge and create safety awareness among students through activities or teaching, and create a safety protection network among educational institutions, parents, communities, and relevant agencies. งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 2) เปรียบเทียบการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 144 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียนที่ปลอดภัย การบริหารจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษา การลดความเสี่ยงและการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ (2) การเปรียบเทียบการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษาพบว่า ครูเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษาแตกต่างกับครูเพศชาย ครูอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไปมีความเห็นแตกต่างกับครูอายุ 31-40 ปี และอายุ 41-50 ปีและครูมีประสบการณ์ทำงาน 1-10 ปีมีความคิดเห็นแตกต่างกับครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 11-20 ปีและมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป สถานศึกษาขนาดเล็กแตกต่างกับขนาดกลางและขนาดใหญ่ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรติดตั้งวงจรปิดในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดเหตุการณ์ การใช้ระบบแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่านมือถือหรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อการแจ้งเตือนและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว จัดกิจกรรมฝึกซ้อมอพยพในกรณีอุทกภัยหรือเหตุการณ์อาชญากรรม ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับผู้เรียนเรี่องความปลอดภัยผ่านกิจกรรมหรือการเรียนการสอน และสร้างเครือข่ายการป้องกันความปลอดภัยระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13117 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2622300933.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น