Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13122
Title: The Development of a Scale to Measure Growth Mindsets for Lower Secondary School Students with the Application of Anchoring Vignettes
การพัฒนาแบบวัดโกรว์ธมายด์เซตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยการประยุกต์ใช้แองเคอริ่งวินเยตต์
Authors: SIRIWAT LUNO
สิริวัฒน์ หลู่โน
Sungworn Ngudgratoke
สังวรณ์ งัดกระโทก
Sukhothai Thammathirat Open University
Sungworn Ngudgratoke
สังวรณ์ งัดกระโทก
Sungworn.Ngu@stou.ac.th
Sungworn.Ngu@stou.ac.th
Keywords: โกรว์ธมายด์เซต แองเคอริ่งวินเยตต์ ทฤษฎีการตอบข้อสอบ ความตรง
Growth mindsets
Anchoring vignettes
Item response theory
Validity
Issue Date:  2
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were twofold: 1) to develop a scale and a set of anchoring vignettes to measure growth mindsets for lower secondary school students, and 2) to validate the developed scale by applying the anchoring vignettes as supplementary tools to aid students in interpreting and responding to the scale items effectively. The sample for this study comprised 300 lower secondary school students enrolled in the LamPang Primary Educational Service Area Offices 1 to 3. They were selected using a multi-stage random sampling method to ensure representation across the schools. The research utilized a combination of a growth mindsets scale and anchoring vignettes as its primary data collection tools. Data analysis was conducted using Cronbach's alpha coefficient to assess internal consistency, Pearson’s correlation coefficient to explore relationships between variables, confirmatory factor analysis to validate the scale structure, and item response theory to evaluate item performance and characteristics. The results of the study revealed two main findings. Firstly, the developed growth mindset scale exhibited acceptable content validity, with a content validity index ranging from .6 to 1. Additionally, the high Cronbach’s alpha coefficients of .91 indicated a high level of internal consistency within the scale. Furthermore, the analysis confirmed that the developed vignettes met the assumption of vignette equivalence, as respondents perceived the situations described in the vignettes uniformly. Secondly, the utilization of anchoring vignettes to mitigate response biases resulted in an improved quality of growth mindset measurement. This improvement was evidenced by enhancements in Cronbach’s alpha coefficients, item discrimination, factor structure, and construct validity. Moreover, the data analysis employing item response theory demonstrated that the incorporation of anchoring vignettes in measuring growth mindsets led to enhanced measurement precision across a wide range of proficiency levels.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ได้แก่ 1) พัฒนาแบบวัดโกรว์ธมายด์เซตและแองเคอริ่งวินเยตต์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโกรว์ธมายด์เซตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยการประยุกต์ใช้แองเคอริ่งวินเยตต์เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตีความและตอบมาตรประมาณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ถึง 3 จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจในการเป็นตัวแทนจากโรงเรียนต่าง ๆ การวิจัยนี้ใช้มาตรประมาณค่าร่วมกับแองเคอริ่งวินเยตต์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเพื่อประเมินความสอดคล้องภายใน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อยืนยันโครงสร้างของแบบวัด และทฤษฎีการตอบข้อสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพและลักษณะการทำงานของข้อคำถาม ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดโกรว์ธมายด์เซตที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง .6 ถึง 1 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคสูงถึง .91 บ่งชี้ได้ว่าแบบวัดมีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในสูง นอกจากนี้ แองเคอริ่งวินเยตต์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติตรงตามสมมติฐานของความเท่าเทียมกันของวินเยตต์ เนื่องจากผู้ตอบส่วนใหญ่รับรู้ลำดับของวินเยตต์ในทิศทางเดียวกัน ประการที่สอง การใช้แองเคอริ่งวินเยตต์เพื่อลดอคติในการตอบ ส่งผลให้แบบวัดมีคุณภาพดีขึ้นจากหลักฐานที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ค่าอำนาจจำแนก โครงสร้างขององค์ประกอบ และความตรงเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการตอบข้อสอบยังแสดงให้เห็นว่าการใช้มาตรประมาณค่าร่วมกับแองเคอริ่งวินเยตต์ในการวัดโกรว์ธมายด์เซตช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวัดระดับความสามารถของผู้ตอบที่หลากหลาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13122
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2622500151.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.