Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13158
Title: The Guidelines of Developing Innovative Leadership for School Directors under The Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
Authors: KANNIKA RUEANGSI
กรรณิกา เรืองศรี
Annop Jeenawathana
อรรณพ จีนะวัฒน์
Sukhothai Thammathirat Open University
Annop Jeenawathana
อรรณพ จีนะวัฒน์
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางการพัฒนา  ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม  มัธยมศึกษา
Guidelines for development
Innovative leadership
Secondary education
Issue Date:  9
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were (1) to study innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphon; and (2) to study guidelines for development of innovative leadership of the school administrators.                       The research sample consisted of 353 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphon during the 2023 academic year, obtained by stratified random sampling based on school consortium.  The sample size was determined based on Taro Yamane’s sample size formula.  The key research informants were seven educational personnel comprising school administrators, a deputy director of the Secondary Educational Service Area Office, and educational supervisors who had experience in development guidelines of innovative leadership for school administrators.  The employed research tools were a questionnaire on innovative leadership of school administrator, with reliability coefficient of .92; and a semi-structured interview form concerning guidelines for development of innovative leadership of school administrator. The data were analyzed with the use of the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.The research findings revealed that (1) both the overall and specific aspects of innovative leadership of the school administrators were rated at the high level; the specific aspects of innovative leadership could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: the performance of innovative duty and roles; the working as a team and innovative participation; the possession of innovative personality; the possession of innovative and creative thinking skills; and the possession of innovative vision, respectively; and (2) as for guidelines for development of innovative leadership of the school administrators, it was found that (2.1) the Secondary Educational Service Area Office should organize a workshop training program on innovative leadership personality for the school administrators with the invitation of the experts to serve as the resource persons; and it should provide the budgets in supporting and promotion of the school administrators to create innovations for administration; and (2.2) the school administrators should develop the school innovations and disseminate them to the other schools and the community via the opening of academic house at least once a year so that they can perceive and appreciate the innovations; the school administrators should conduct self-analysis in order to know their own good points and deficiencies so that they can develop themselves to become the administrators with more innovative personality; and they should always learn and follow up-to-date news and information to seek new ideas and perspectives in order to apply them for creation of excellent administrative practices.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา                   กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 353 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามสหวิทยาเขต สำหรับผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา                  ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม การมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า (2.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านบุคลิกภาพความเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรมให้กับผู้บริหารสถานศึกษา โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญ และควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับการบริหาร และ (2.2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาและนำผลงานหรือนวัตกรรมของสถานศึกษาเผยแพร่ให้กับสถานศึกษาอื่น และชุมชนได้รับรู้โดยการจัดกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้บริหารควรวิเคราะห์ตนเองให้รู้ข้อดี ข้อเด่น ข้อบกพร่องของตนเองเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น และเรียนรู้ ติดตามข่าวสารที่ทันสมัยเพื่อหาแนวคิด หรือมุมมองใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศทางการบริหารอยู่เสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13158
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2632300907.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.