Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภนา สุดสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorสุรวุฒิ อารีชลth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:25:22Z-
dc.date.available2025-01-24T08:25:22Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13198en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย กรูด ป่าร่อน คลองสระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย กรูด ป่าร่อน คลองสระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 118 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและสุ่มอย่างง่าย  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็น ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และ .96 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน  ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน  การไว้วางใจกัน และ การยึดมั่นผูกพัน และ 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทุกคนได้รับรู้และเข้าถึงข้อมูลสำคัญผ่านช่องทางที่หลากหลายเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในการกำหนดเป้าหมายแลวัตถุประสงค์ร่วมกัน   (2) เป็นผู้นำทีมและส่งเสริมให้นำกระบวนการทำงานเป็นทีมมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาอย่างจริงจังและเป็นอิสระ (3) นำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยคณะกรรมการในลักษณะต่างๆ เช่น การปรึกษาหารือ กลุ่มคุณภาพ หรือระบบข้อเสนอแนะ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม (4)  เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทุกมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ค่านิยม และรูปแบบการสื่อสารที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ รู้สึกผูกพันและเป็นเจ้าของสถานศึกษาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--สุราษฎร์ธานีth_TH
dc.subjectการบริหารโรงเรียน--ไทย--สุราษฎร์ธานีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษากลุ่มเครือข่าย กรูด ป่าร่อน คลองสระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century of  school in Krut Paron Klongsa Network Group under Suratthani  Primary Educational Service Area Office 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study: 1) the current and desired conditions of participatory administration of school administrators in the 21st century; 2) the needs for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century; and 3) guidelines for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century of schools in Krut Paron Klongsa Network Group under Surat Thani Primary Educational Service Area office 1.                       The sample consisted of 118 school teachers in Krut Paron Klongsa Network Group under Surat Thani Primary Educational Service Area office 1 in academic year 2022. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan Table, and then obtained by stratified random sampling based on school size.  Key informants were 5 experts. The employed research instruments were a dual-response questionnaire on the current and desirable conditions of participatory administration of school administrators in the 21st century, with reliability coefficients of .98 and .96, respectively, and an interview form dealing with guidelines for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century. The research data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified and content analysis.        The research finding were as follows: 1) The overall current condition of the participatory administration of school administrators in the 21st century was at  the high level, while the overall desirable conditions of participatory administration of school administrators in the 21st century was at the highest level; 2)the identified needs for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century were ranked from the highest to the lowest as follows: setting common goals and objectives, independence for job responsibilities, mutual trust, and commitment;  and 3) guidelines for promoting participatory administration of school administrators in the 21st century were the following: school administrators should (1) provide opportunities for teachers and all personnel to know and access important information through various channels in order to independently share their opinions in setting common goals and objectives; (2) be a team leader and encourage the use of teamwork processes for school management seriously and independently; (3) employ a participatory management model by the committee in various ways, such as consultations, quality groups, or feedback systems for school management seriously; and (4) provide opportunities for teachers and all personnel to participate in setting policies, values, and communication patterns to build trust, connected feelings, and belonging to the school.en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2642300426.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.