Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13200
Title: แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Guidelines for the development of teachers’ learning management in schools under Buriram town municipality, Buriram province
Authors: จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์
สัญญา ผลดิลก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้--การจัดการ
การพัฒนาการศึกษา--ไทย--บุรีรัมย์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ (2) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566  จำนวน 180 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีความเที่ยง เท่ากับ .93  และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ และ (2) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สถานศึกษาควร (2.1) พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นมีการสร้างเครือข่ายในชุมชนและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบขั้นตอนโดยการประชุมหรืออบรมให้ครูผู้สอนเกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (2.2) ยกระดับศักยภาพครูโดยสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมพัฒนาเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและควรจัดการเรียนการสอนโดยคัดเลือกบทเรียนให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน (2.3) ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามสถานการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน (2.4) นำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่รวมถึงสื่อและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ (2.5) ส่งเสริมให้ครูพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้โดยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนให้เป็นปัจจุบันและทันสมัยเพื่อนำมาใช้ติดตามความก้าวหน้าในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
Description: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13200
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2642300525.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.