Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13204
Title: | แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 |
Other Titles: | Guidelines for operational development of student care and support systems in schools under Mae Hong Son Primary Educational Service Area Office 1 |
Authors: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ อาซู วิเศษณ์ศิริ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษากับเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา พฤติกรรมการช่วยเหลือ การแนะแนว |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 1กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 291 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับการดำเนินการระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน การส่งต่อนักเรียน และการคัดกรองนักเรียน 2) การเปรียบเทียบการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมสถานศึกษาขนาดเล็กแตกต่างจากสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า สถานศึกษาควรพัฒนาวิธีการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีการวางแผนจัดทำคู่มือจัดอบรมให้ความรู้ครู ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกภาคเรียน มีการกำหนดเกณฑ์การคัดกรองที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง มีการกำหนดโครงการกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนอย่างชัดเจน จัดงบประมาณรองรับเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และส่งเสริมให้ครูประจำชั้นประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในการแก้ไขปัญหานักเรียน จัดทำสรุปบันทึกผลการช่วยเหลือทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา |
Description: | การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13204 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642300723.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.